การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

ธนนท์ วีรธนนท์
บุญมี เณรยอด

Abstract

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ และพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สอบถามข้อมูลจากประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูหัวหน้างาน 4 กลุ่มงาน และครูผู้สอนของศูนย์การศึกษาพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรม LISREL นำผลที่ได้มาพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีระบบของ Lunenburg and Ornstein (2008) มีการตรวจสอบความเป็นไปได้และความสอดคล้องของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

             ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา การบริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ และภาวะผู้นำของผู้บริหาร สำหรับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประกอบด้วยคุณภาพการปฏิบัติงานของครู ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู และความเจริญงอกงามของนักเรียนหรือพัฒนาการของนักเรียน องค์ประกอบของระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษในแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วย ปัจจัยป้อน (Inputs)  มีปัจจัย ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ความรู้/ประสบการณ์วิชาชีพ และคุณลักษณะครู ด้านการบริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติ ประกอบด้วยงบประมาณ การติดต่อสื่อสาร และระบบบริหารสถานศึกษาขององค์กร ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน การมีส่วนร่วมในการบริหารในรูปแบบคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการจัดการเรียนรู้และ สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา วัสดุอุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยี และอาคารสถานที่ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วยความมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหาร และคุณลักษณะของผู้บริหาร กระบวนการแปรรูป (Transformation process) มีปัจจัยด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยทักษะ/ความสามารถ และแรงจูงใจ ด้านการบริหารสถานศึกษา และการปฏิบัติ ประกอบด้วยการบริหารเชิงกลยุทธ์ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีส่วนของชุมชน ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร ด้านการจัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วยการบูรณาการสาระในหลักสูตร การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายนอกสถานศึกษาด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วยความสามารถในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติทักษะการบริหาร และพฤติกรรมผู้นำ ผลผลิต (Outputs) ได้แก่ ความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วยคุณภาพการปฏิบัติงานของครู ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู และ ความเจริญงอกงามของนักเรียนหรือพัฒนาการของนักเรียน  

 

            The purpose of this study were to analyzed factors affecting the effectiveness of special education center, and to develop an organizational system for the effectiveness of the special education center under the Office of Special Education Administration Bureau by using descriptive method. Data was collected through questionnaire from chairpersons of school board, directors and deputy directors of special education center, head teachers, and teachers. Data was analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and coefficient correlation through the LISREL program. Furthermore the results will be analyzed for developing an organizational system for the effectiveness of special education center through applying the system theory of Lunenburg and Ornstein (2008), then the organizational system was validated by experts through focus group technique. The research results showed as follows :Factors affecting the effectiveness of special education center composed of teachers and educational personnel, administration and an implementation, community participation, instruction and instructional environments, and institutional administrators leadership.The effectiveness of the special educational center composed of quality of teacher’s performances, teacher’s satisfaction, and learner’s developments.

          An organizational system in each components showed as follows: Inputs component. An input of an organizational system for the effectiveness of special education center related to teachers and educational personnel included teacher’s knowledge and experiences, and teacher’s characteristics; administration and implementation included budget, communications system, and administrative system; community participation included school board member participation; instruction and instructional environment included in school learning resource center media technology, and buildings and ground; institutional administrator leadership included administrator’s moral, virtue, and modeling. Transformational process component. A transformational process of an organizational system for the effectiveness of special education center related to teachers and educational personnel included teacher’s competencies and skills, and motives; administration and an implementation included strategic management. and change management; community participation included resource allocation; instruction and instructional environment included curriculum content integration, utilization of educational technology, and utilization of external learning resource center and local wisdom; institutional administrator leadership included policy implementation ability, administrator’s skill and behavior. Outputs component. An output of an organization system is the effectiveness of special education center composed of quality of teacher’s performance, teacher’s satisfaction, and learner’s developments.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ