การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน

Main Article Content

นิตติยา ตั้งเจริญ

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 45 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ระยะเวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัยคือ One Group Pretest Posttest Design  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  1)  แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียง 2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการเขียนความเรียง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( x̅ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.)  ค่าที (t-test)  แบบ  Dependent  และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis)

             ผลการวิจัยพบว่า 1)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน  มีทักษะการเขียนความเรียง  ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ  0.05  โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และในด้านความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องทักษะการเขียนความเรียงโดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูนนั้นพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก  ทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้   

 

             The purposes of this  research were to  1)  compare the  fifth grade students skill in writing evaluated  before and after classes taught by mind mapping and cartoon pictures  2) study the students’opinions toward learning management by using  mind mapping and cartoon pictures. The sample of this research were 45 students in grade 5/2 , Kaewinsuthauthit School Under Nonthaburi Primary Educational Service Office Area 2 during the second semester of academic year 2015 . The duration of the implementation covered 12 hours . The research design was one group pretest – posttest design . The  research instruments were 1) The development of essay writing skill  lesson plans  2) Essay question based achievement test for writing skill 3) Questionnaire regarding of students opinion with mind mapping and cartoon pictures.

             The data  were analyzed by using mean, standard deviation, t – test  dependent and content analysis.

             The results  of the research were:

                 1) The diffirence of the fifth grade students’ scores of skill in writing earned before and after their participation in the  class organized along with idea of mind mapping and cartoon pictures was statistically significant at the level of  0.05 whereas the students scores earned after were found higher than the scores earned  before.

                 2) Students’ opinions in fifth grade toward learning management by  using  mind mapping and cartoon pictures were at the high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ