ความคิดเห็นต่อการหนีภาษีของผู้เข้าร่วมโครงการสรรพากรสอนภาษีที่มหา’ลัย

Main Article Content

ปานแก้วตา ลัคนาวานิช
วิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภพ

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการหนีภาษีก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการสรรพากรสอนภาษีที่มหา’ลัย โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด เก็บข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จากนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 95 คน ผลการวิจัยพบว่า ความเห็นของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างไม่เห็นด้วยต่อการหนีภาษีทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการหนีภาษีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้นักศึกษาไม่เห็นด้วยมากขึ้นต่อการหนีภาษี นอกจากนี้ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการหนีภาษีทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการระหว่างนักศึกษาหลักสูตรการบัญชีและนักศึกษาหลักสูตรอื่น และระหว่างนักศึกษาที่เคยและไม่เคยได้รับความรู้ทางภาษีอากรมาก่อน พบว่าความคิดเห็นเป็นไปในรูปแบบคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ก่อนเข้าร่วมโครงการนักศึกษาจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันบ้างในบางประเด็น แต่หลังเข้าร่วมโครงการนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นต่อการหนีภาษีไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ที่ทำให้นักศึกษาที่ไม่มีความรู้ด้านภาษีหรือมีความรู้ด้านภาษีน้อยมีทัศนคติที่ดีต่อการเสียภาษีมากขึ้น

 

            This research aims to investigate students’ opinions on tax evasion before and after attending RD Go Campus workshop. Data were collected from 95 senior students by using two sets of questionnaires, before and after the workshop. The results have been shown that overall students disagreed with tax evasion and there were significant differences between students’ opinions before and after participating the workshop. It is indicated that participation in this workshop let to increased disagreement of students over tax evasion. Moreover, the results of the comparisons between accounting students and non-accounting students have shown the similar pattern to those results of the comparisons between students who had ever and never been taught in taxation. That is to say, before students attended the workshop, their opinions were different in some issues. However, the opinions between the groups became non-significantly different after the workshop.  It is implied that the workshop produced changes in order to narrow the gap in opinions between students. From this, it could be claimed workshop’s accomplishment to improve students’ attitude toward taxation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ