การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร

Main Article Content

มนัญชยา เรืองวงศ์โรจน์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กับนักศึกษากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนวิธีปกติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับอนุปริญญา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์  วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้จากการจัดกลุ่มแบบสุ่ม (random assignment)  2 กลุ่ม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แบบประเมินคุณภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 80 ข้อ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.50-0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.50 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบที (t-test) แบบ Independent Samples

            ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร มีค่าคุณภาพเฉลียด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (x= 3.98, S.D. = 0.34) และมีค่าคุณภาพเฉลี่ยด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (x = 3.94, S.D. = 0.28) 2) มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.01/80.07 2) นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (x = 3.94, S.D. = 0.12)

 

              The purposes of this research were to 1) develop e-tutoring on human resource management for diploma Samut Sakhon community college student. 2) find efficiencies of  e-tutoring on human resource management, 3) compare the learning archievement of students between experiment group who learning with e-tutoring on human resource management who control group students learning with the usual method of teaching, 4) find the satisfaction of students use e-tutoring on human resource management. The sample was a diploma student registration course of human resource management Samut Sakorn community college, in the first semester of academic year 2559 from the sample group (random assignment) 2 group of 32 people. The research instruments included a e-tutoring learning human resource management, achievement test 80 items this valuable content validity (IOC = 0.67-1.00), the difficulty between 0.50-0.75, The discrimination value between 0.20-0.50, and the reliabitlity of 0.95 a satisfaction of students with the use of e-tutoring. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t-test Independent samples. The research results were as follows: 1) E-tutoring on human resource management for diploma Samut Sakhon community college students had average quality content at good level (x = 3.98, S.D. = 0.34) and the average quality production technique at good level (x = 3.94, S.D. = 0.28) the efficiency was 81.01/80.07 2) The experimental group learning with e-tutoring on human resource management course showed significantly higher learning achievement than the control group with the traditional method of teaching at 0.5 levels. 3) The students satisfaction in learning were at a high level. (x = 3.94, S.D. = 0.12)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ