การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายหลังทดลองใช้โมชันอินโฟกราฟิกประชาสัมพันธ์หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระดับปริญญาตรี 3) โมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4) แบบประเมินคุณภาพโมชันอินโฟกราฟิก 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้โมชันอินโฟกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 6 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 2) ครูแนะแนว จำนวน 105 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 420 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลหลักสูตรที่นำมาเป็นกรอบในการออกแบบและพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิก ได้แก่ ปรัชญาหลักสูตร ความรู้พื้นฐานของผู้เข้าศึกษา การจัดการเรียนการสอนและโอกาสในการประกอบอาชีพ 2) ผลการประเมินโมชันอินโฟกราฟิกของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก 3) หลังทดลองใช้โมชันอินโฟกราฟิก ครูแนะนำมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก

                 สรุปได้ว่า โมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็นสื่อที่ทำให้เข้าใจรายละเอียดของข้อมูลปริมาณมากๆ ในมุมมองที่น่าสนใจ โดยครูแนะแนวและนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการนำเสนอข้อมูลหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในรูปแบบโมชันอินโฟกราฟิก เนื่องจากการนำเสนอข้อมูลลักษณะดังกล่าวเป็นการกระตุ้นความสนใจ สนับสนุนให้ผู้ใช้แสวงหาความรู้ไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ทำให้มีความเข้าใจข้อมูลหลักสูตรและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้

 

               This study aimed at: 1) deeply exploring the undergraduate programs under the Faculty of Informatics, Mahasarakham University; 2) developing the motion inforgraphic for the undergraduate program promotion; 3) perceiving the participant’s opinion after trying out the motion infographic. A variety of research instrument were used including: 1) the questionnaire on the student’s decision to pursue their higher education at the Faculty of Informatics; 2) the interview form on the participant’s understanding toward the undergraduate program’s specification; 3) the motion infographic for the undergraduate program promotion; 4) the motion inforgraphic’s quality evaluation form; and 5) the participant’s opinion survey form. This study was conducted on different groups of people including: 1) 6 responsible person (lecturers) of the undergraduate programs at the Faculty of Informatics chosen by the purposive sampling method; 2) 105 school counselors (teachers) and 420 high school students selected by multi-stage sampling method. The finding firmly indicates that: 1) The program’s specification for the motion infographic design and development consisted of the program’s philosophy, the applicant’s basic knowledge, classroom management, and career opportunity. 2) The specialist identically rated a very high score for the motion infographic’s quality. 3) After trying out the motion infographic, the teachers marked the highest score for the quality of the media; whereas the students gave a fairly high score.

             Accordingly, the motion infographic for the undergraduate program has been firmly approved as an effective medium that provides a new insight to clearly understand a number of the input data. Similarly, the teachers and students were evidently satisfied with this motion infographic since it visually inspired them to look for more information from other sources to support their decision to further study at the Faculty of Informatics, Mahasarakham University. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ