กลวิธีทางภาษาในเพลงลูกทุ่งเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์และการเมืองเชิงวัฒนธรรม ของคนอีสานพลัดถิ่น

Main Article Content

สิริชญา คอนกรีต

Abstract

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่เพลงลูกทุ่งใช้เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์และการเมืองของคนอีสานพลัดถิ่น ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้ถ้อยคำภาษาถิ่นเพื่อสะท้อน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และสื่อสารประสบการณ์ร่วมระหว่างคนอีสานพลัดถิ่น มีการใช้ภาษาถิ่นปะปนไปกับภาษาไทยมาตรฐานและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารเรื่องราวกับคนนอก มีศิลปะของการใช้ภาษาทั้งการใช้ถ้อยคำและการใช้ภาพพจน์ ทั้งนี้กลวิธีทางภาษาและวรรณศิลป์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือประกอบสร้างอัตลักษณ์ของคนอีสานพลัดถิ่นให้มีลักษณะของนักสู้ชนชั้นแรงงาน และบอกเล่าความทุกข์ของคนอีสานจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม

 

             The objective of this research is to analyse techniques of language used in country songs to communicate the identity and politics of the Isan diaspora. The research has found that there are used of local language to reflect the cultural identity and communicate the shared experience within groups of the Isan diaspora. The use of these languages is mixed with standard Thai and foreign language, in order to communicate with the outside group. There are arts of  language including the use of words and figures of speech. These literary techniques and arts are utilised as a tool to construct the Isan diaspora identity as the working class-fighter and to voice the suffering of Isan people caused by the social injustice.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ