ผลการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ด้วยกลวิธีการแก้ปัญหา STARวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดธรรมศาลา (หลวงพ่อน้อยอุปถัมภ์)

Main Article Content

สุภิดา เที่ยงจันทร์
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วยกลวิธีการแก้ปัญหา STAR วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ 3) ศึกษาความพึงใจของนักเรียน เมื่อเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์  กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดธรรมศาลา(หลวงพ่อน้อยอุปถัมภ์)  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2559  เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  1)  แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ 2) แผนการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์  3) บทเรียนออนไลน์  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน5) แบบสอบถามความพึงใจของนักเรียน  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent 

            ผลการวิจัย  พบว่า1) ประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์  มีประสิทธิภาพ 81.19/82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเมื่อเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ พบว่าคะแนนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x =22.00, S.D.= 4.87) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน (x =11.08, S.D.= 3.91) อย่างมีนัยสำคัญ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนเมื่อเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์  มีคะแนนรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (x = 4.33 ,S.D = 0.67)

 

              The purposes of this research were to 1) develop the Online lessons using the STAR strategy on Mathematics problem solving in surface area and volume to have the quality was 80/80 2) compare the learning achievement when studying through online lessons. 3) study of satisfaction for student when studying through online lessons. The sample group, obtained by purposive sampling, was 24 student in Matthayomsuksa 3 from Watthammasala School.

             The instruments used in the research were the interview forms, the lesson plan, the online lessons, the test of learning achievement  and the queationnaire to assess student’s satisfaction. The data was analyze by mean, standard deviation and dependent  t – test.

             The results of the research were as follow : 1) the quality of the online lessons was 81.19/82.08  which was higher than the set criteria of 80/80  2) learning achievement Of students when learning through online lessons Find scores after class. Have arithmetic mean (x =22.00, S.D. = 4.87) Higher than the pre-class score (x = 11.08, S.D. = 3.91) by significantly different at 0.1 level 3) Satisfaction of students when learning through online lessons. Has an average total score in a very level (x = 4.33, S.D. = 0.67)

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ