ปัจจัยนำและผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม: กรณีศึกษา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

อนุวัต สงสม

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยนำและปัจจัยที่เป็นผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดสงขลา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการของธุรกิจดังกล่าว จำนวน 330 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สำหรับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 ตัวแปรแฝง คือ การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จิตลักษณะของผู้ประกอบการ ปัจจัยเชิงสถานการณ์ และผลการดำเนินงาน ซึ่งวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 16 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2/df = 1.58, CFI=0.96, RMSEA=0.045, SRMR=0.043) ค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างของมาตรวัดอยู่ระหว่าง 0.73-0.92 และค่าความแปรปรวนเฉลี่ยที่ถูกสกัดได้อยู่ระหว่าง 0.67-0.81 เช่นเดียวกับโมเดลสมการโครงสร้างที่พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2/df=1.64, CFI=0.94, RMSEA=0.047, SRMR=0.045) ซึ่งพบว่าปัจจัยนำที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการดำเนินกิจกรรม CSR คือ จิตลักษณะของผู้ประกอบการ และปัจจัยเชิงสถานการณ์ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.56 และ0.63ตามลำดับ ขณะเดียวกันการดำเนินกิจกรรม CSR มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.71

 

              The purpose of this research was to analyze the causal relationship model between antecedents and consequences of corporate social responsibility (CSR) of the SMEs in Songkhla province. The sample consisted of 330 cases by multi-stage sampling. The research was analyzed by 4 latent variables: CSR, psychological traits, situational factors, and performance; with 16 observed variables. The questionnaires were used as a research instrument which measured on five-point Likert scales. The basic data were analyzed by descriptive statistics and the goodness of fit of the model was analyzed by Structural Equation Modeling (SEM). The results can be concluded that the measurement model was valid and fit to the empirical data (c2/df = 1.58, CFI=0.96, RMSEA=0.045, SRMR=0.043). The measurement model accounted for 0.73-0.92 of construct reliability, and 0.67-0.81 of the average variance extracted. The structural equation model (SEM) had a good fit with the empirical data (c2/df=1.64, CFI=0.94, RMSEA=0.047, SRMR=0.045). The antecedents of CSR were psychological traits and situational factors that had direct effect to CSR with 0.56 and 0.63 effect sizes. While CSR had positive direct effect to SME’s performance with 0.71 effect sizes at significant level .05          

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ