การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

อภิเดช ช่างชัย
สันติ ศรีสวนแตง
ประสงค์ ตันพิชัย

Abstract

            การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) สะท้อนผลกระบวนการและการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งมีผู้เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายโรงเรียน ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้บริหาร 2 คน อาจารย์ 4 คน และฝ่ายชุมชน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน 4 คน  และวิทยากรที่ชุมชนให้การยอมรับด้านการเกษตร 4 คน 2) การปฏิบัติการและการสังเกตผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 105 คน ผู้วิจัย และวิทยากรด้านการเกษตร 7 คน และ 3) การสะท้อนผลกระบวนการและการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโรงเรียน ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้บริหาร 2 คน อาจารย์ 4 คน และฝ่ายชุมชน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน 4 คน และวิทยากรที่ชุมชนให้การยอมรับด้านการเกษตร 4 คน การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูล 1) เชิงปริมาณแล้วจึงประมวลผลข้อมูลดังกล่าวโดยใช้สถิติพื้นฐาน และทดสอบค่าสถิติโดยใช้ t-test และ 2) เชิงคุณภาพและประมวลผลข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้พัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันและให้ชื่อว่า “แผนกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรแบบผสมผสาน” ซึ่งมีเนื้อหาด้านการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และการจัดการธุรกิจเกษตรในท้องถิ่น 2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีผลสัมฤทธิ์ 3 ประเด็น คือ ก) ด้านความรู้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ข) ด้านทักษะการปฏิบัติงานกลุ่ม พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี และ ค) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก และ 3) การสะท้อนผลกระบวนการและการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก) เป็นแนวทางที่ดีที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้องค์ความรู้ที่หลากหลายจากแหล่งเรียนรู้และวิทยากรในชุมชน และ ข) เสนอแนะให้เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมวางแผนการจัดการศึกษาร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทิศทางที่ตรงกัน และอีกประการที่สำคัญคือ ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้รู้โดยการปฏิบัติจริง 

 

              This action research aimed to 1) enhance the agricultural learning activities through community participation; 2) investigate the effects of applying agricultural learning activities through community participation; and 3) reflect the effects of applying agricultural learning activities through community participation.  There were 3 phases of research methods: 1) planning of the development of agricultural learning activities through community participation, i.e., 2 groups of participants (School participants were the researcher, 2 administrators, and 4 teachers. The community participants were 4 parents, and 4 agricultural guest speakers in the community that were accepted by people in the community); 2) acting and observing the effects of using agricultural learning activities through community participation, i.e., there were 3 groups of participants (105 Mathayomsuksa II students of Kasetsart University Laboratory School, Kamphaeng Sean Campus, the researcher, and 7 agricultural guest speakers; and 3) reflecting the effects of processes and development of agricultural learning activities through community participation, i.e., there were 2 groups of participants (School participants were the researcher, 2 administrators, and 4 teachers, while the community participants were 4 parents, and 4 agricultural guest speakers in the community that were accepted by people in the community. Quantitative and qualitative data collections were applied into this investigation. t-test was used for quantitative data analysis, while the content analysis was applied for the qualitative data.

               The findings revealed that: 1) agricultural learning activities calling “integrated agricultural learning activities” was arisen from the development of agricultural learning activities through community participation, and the contents were animal farming, tree planting, agricultural product processing, and agricultural business management in the community; 2) there were 3 achievements of the effects of using agricultural learning activities through community participation, i.e., a) knowledge base, comparing means scores before and after participating in the agricultural learning activities revealed that there was a significant difference at 0.05; b) group acting skills base, the means scores of the students were good; and c) students’ satisfactory after participating the agricultural learning activities was in the very good level; and 3) reflecting the effects of processes and development of agricultural learning activities through community participation revealed that managing agricultural learning activities through community participation were a) a good approach to assist the students to have an opportunity to learn various knowledge from learning resources and guest speakers in the community; and b) suggestions were to promote such opportunities for people in the community to participate to plan to organize education together in order to gear into the same direction, and it was important to use such learning activities, emphasizing learning by doing.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ