สัดส่วนการปรากฏของมัศดัรโครงคำและมัศดัรกลุ่มคำในภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่: การศึกษาแบบข้ามสมัย

Main Article Content

ดุลยวิทย์ นาคนาวา

Abstract

บทความนี้เป็นการศึกษาภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ในเชิงปริมาณแบบข้ามสมัย โดยมุ่งศึกษาสัดส่วนการปรากฏระหว่างมัศดัรโครงคำ (templatic maṣdar) และมัศดัรกลุ่มคำ (periphrastic maṣdar) ที่นำหน้าโดยหน่วยคำ an และ anna ซึ่งสามารถปรากฏในตำแหน่งทางวากยสัมพันธ์เดียวกันได้ โดยเก็บตัวอย่างจากข่าวในภูมิภาคของหนังสือพิมพ์อัล-อะห์รอม ประเทศอียิปต์ โดยนับความถี่รูปคำ (token frequency) และความถี่รูปศัพท์ (type frequency) ของมัศดัรโครงคำและมัศดัร กลุ่มคำทั้ง 2 ประเภท เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างมัศดัรชนิดดังกล่าว และเปรียบเทียบกับสัดส่วนของคำทั้งหมด เพื่อตอบคำถามว่า แนวโน้มการปรากฏของมัศดัรทั้ง 2 ประเภทเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวม สัดส่วนการปรากฏของมัศดัรโครงคำมีสัดส่วนที่มากกว่ามัศดัรกลุ่มคำทุกช่วงระยะเวลา และมีแนวโน้มจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลา ในขณะที่มัศดัรกลุ่มคำประเภทที่ 1 มีแนวโน้มลดลง และมัศดัรโครงคำประเภทที่ 2 มีแนวโน้มคงที่ และแม้ว่ามัศดัรโครงคำที่มีสัดส่วนการปรากฏมากขึ้น แต่กลับมีผลิตภาวะคงที่ และมีความหลากหลายทางศัพท์น้อยลง การเปลี่ยนแปลงสัดส่วน ในลักษณะดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า มัศดัรโครงคำไม่ได้เพิ่มจานวนมากขึ้นแต่ปรากฏซ้ำมากขึ้น ซึ่งน่าเป็นผลมาจากปัจจัยด้านวัจนลีลา

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์