ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุกัญญา ไหมเครือแก้ว
พราวตา จันทโร
สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์
ภมรรัตน์ สุธรรม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นกับบริบทเชิงพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น พบว่าจุดกำเนิดของภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นมาจากการบริโภคตามวิถีชีวิตดั้งเดิมในชุมชน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมีอายุนับร้อยปีขึ้นไป ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของครัวเรือน โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก มีจุดเด่นในด้านรสชาติที่จัดจ้าน มีกลิ่นหอม และมีสีสันจากสมุนไพร ผลการศึกษาความเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นกับบริบทพื้นที่พบว่า สภาพพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายของระบบนิเวศทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนเป็นวิถีเกษตรกรรมที่เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำกินในพื้นที่ป่าดิบชื้น ต้องพึ่งพาปัจจัยสี่จากธรรมชาติในการยังชีพเน้นการผลิตเพื่อการพึ่งตนเองเป็นหลัก ในสังคมมีการช่วยเหลือเกื้อกูลและมีประเพณีวัฒนธรรมที่ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษากรรมวิธีการผลิต พบว่า อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละชนิดเริ่มคิดค้นขึ้นจากวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ในแต่ละวัน การใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร การทำอาหารของจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่ เน้นการปรุงจากพืชผัก อาหารทะเล แป้ง ข้าว น้ำตาล และมะพร้าว โดยสรุปอาหารท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับบริบทเชิงพื้นที่มีการสืบทอดกันมายาวนาน และมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย

Article Details

How to Cite
ไหมเครือแก้ว ส., จันทโร พ., อภิรัตนานุสรณ์ ส., & สุธรรม ภ. (2017). ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Area Based Development Research Journal, 9(4), 274–296. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/106377
Section
Research Articles

References

นิยพรรณ วรรณศิริ. 2540. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 352 น.
ประหยัด สายวิเชียร. 2547. อาหาร วัฒนธรรมและสุขภาพ. นพบุรีการพิมพ์. เชียงใหม่. 23 น.
ผกาวดี ภู่จันทร์ และ โสรัจวรชุม อินเกด. 2559. สำรับอาหารพื้นถิ่นเมืองพิษณุโลก. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 17(32); 3-16.
พัฒนะ วิศวะ. 2549. ความหมายของวัฒนธรรม. จาก www.manageronline.com. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560.
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2546. การสังเคราะห์ผลการวิจัยการศึกษา
แนวทางยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน อาหาร สมุนไพร และหัตถกรรม. สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพ.
สุกัญญา โกมล และคณะ. 2545. รายงานการวิจัยโครงการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาการ
ผลิตไข่เค็ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี. 121 น.
สุกัญญา ไหมเครือแก้ว และคณะ. 2550. รายงานการวิจัยการวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นสู่ครัวโลก กรณีศึกษาผัดไท
ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี. 306 น.
สุกัญญา ไหมเครือแก้ว และคณะ. 2559. รายงานการวิจัยโครงการการศึกษาภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี. 539 น.
สุราษฎร์ธานี. 2558. ข้อมูลจังหวัดสุราษฎร์ธานี. จาก https://www.suratthani.doae.go.th/newweb/data2/link/file-surat.pdf. สืบค้นเมื่อ
20 มีนาคม 2560.
อภิณัทธ์ บุญนาค. 2557. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม.
15(28); 3-14.
อมรา พงศาพิชญ์. 2549. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 225 น.
เอกรินทร์ พึ่งประชา และคณะ. 2557. “จากป่าสู่ครัวไทด่าน” การพัฒนาระบบองค์ความรู้ด้านฐานทรัพยากรอาหารของชุมชนในภาวะ
เปราะบางเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายเกษตร (ฝ่าย 2) มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 298 น.