การจัดการที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พิมพ์พร พิมพ์สุวรรณ
ชาสินี สำราญอินทร์
ธาริดา สกุลรัตน์
ราชันย์ ปรึกษา
เบญจพร เชื้อผึ้ง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนต่อการจัดการที่พักแรม ซึ่งนำไปสู่การนำเสนอรูปแบบและกระบวนการจัดการที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่ม ผู้นำชุมชน กลุ่มนำร่องอาชีพ กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้มา เท่ี่ยวงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือนครั้งที่ 7 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉล่ี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัย พบว่า ชุมชนสามเรือนมีศักยภาพต่อการจัด การที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ (1) ด้านกายภาพ (2) ด้านสิ่งแวดล้อม (3) ด้านสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม บ้านเรือน (4) ด้านบุคคล และ (5) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชน มีอายุในช่วง 31-40 ปี มีรายได้เฉลี่ย 10,001-15,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว มีความสนใจพักค้างคืน โดยให้ความสนใจในกิจกรรมเก็บเห็ดตับเต่า ปั่นจักรยานท่องเที่ยว ทำขนม อาหาร พายเรือ และชมนกกระจาบ และค่าใช้จ่ายสำหรับท่ี่พัก 1 คืน รวมอาหารเย็น 1 มื้อ ไม่เกิน 500 บาท การประเมินมาตรฐานที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนสามเรือนใช้เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 10 ด้าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และรูปแบบการจัดการที่พักแรมในแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนสามเรือนมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมากท่ี่สุด โดยรูปแบบการจัดการประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการจัดตั้งกลุ่ม กระบวนการปรับปรุงที่พัก และกระบวนการรวมกลุ่มกิจกรรมสนับสนุน (การท่องเที่ยวนิเวศเกษตรเห็ดตับเต่าชุมชนสามเรือน)

Article Details

How to Cite
พิมพ์สุวรรณ พ., สำราญอินทร์ ช., สกุลรัตน์ ธ., ปรึกษา ร., & เชื้อผึ้ง เ. (2018). การจัดการที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Area Based Development Research Journal, 10(1), 33–43. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/111968
Section
Research Articles