ความเกี่ยวข้องของอาหารกับชีวิตประจำวัน นำมาสู่งานวิชาการหลากหลายศาสตร์ ครอบคลุมทุกแง่มุม ความหลากหลายของพื้นที่ในมิติทรัพยากรและมิติสังคมวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้นักวิจัยสามารถสืบค้น สังเคราะห์ จัดการความรู้ หรือ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น ดังตัวอย่างงานที่เผยแพร่ผ่านบทความ 4 เรื่องจาก 4 ภาค 4 สถาบันการศึกษา ในวารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ฉบับที่ 4 ของปีนี้

วารสารฉบับนี้ยังได้เผยแพร่ บทความด้านการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ต่อเนื่องเป็นฉบับที่ 2 โดยผู้บริหารรุ่นใหม่ จากมหาวิทยาลัยที่รับทุนวิจัยมุ่งเป้าในแผนงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและ ชุมชน ซึ่งนำเสนอแนวคิดระบบการประเมินที่สามารถปรับใช้ เพื่อขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม

Published: 2017-12-21

การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเกรียบมันเทศ สู่การผลิตเชิงพาณิชย์โดยชุมชนมีส่วนร่วม

พาขวัญ ทองรักษ์, วรรภา วงศ์แสงธรรม, สุภาพร พาเจริญ, จันทร์เพ็ญ บุตรใส, รุ่งทิพย์ ไทยสม

242-256

ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สุกัญญา ไหมเครือแก้ว, พราวตา จันทโร, สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์, ภมรรัตน์ สุธรรม

274-296

ตำรับอาหารพื้นบ้านพะเยา: การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณค่าทางโภชนาการ

ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร, เอกอุรินทร์ ดวงทิพย์, ณิฌารี อิติอินทร์, มนฑน์กาญจน์ ปิ่นภู่, วิไลพร วงศ์คินี

297-313

รูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สุขุม คงดิษฐ์, วรรษา พรหมศิลป์, ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ, จิดาภา เร่งมีศรีสุข, ธารนี นวัสนธี

314-326