ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูกยางพาราในตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

Main Article Content

วันทนีย์ เกษมพิณ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
3) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา 4) การเปิดรับข่าวสารทางการเกษตร 5) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคต
การปลูกยางพาราและ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับ
การปลูกยางพารา และการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตร กับความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูกยางพารา
ในตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยองเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา
จำนวน 323 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และค่าไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 50.13 ปี มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือต่ำ
กว่า มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 คน มีประสบการณ์ปลูกยางพาราเฉลี่ย 18.42 ปี มีรายได้เฉลี่ย 8,867.12 บาท/
ไร่/ปี มีรายจ่ายเฉลี่ย 2,420.65 บาท/ไร่/ปี มีจำนวนแรงงาน 1 – 2 คน มีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 19.02 ไร่ และมีปริมาณ
น้ำยางเฉลี่ย 286.99 กิโลกรัม/ไร่/ปี ได้รับข่าวสารทางการเกษตรจากสื่อบุคคลโดยผู้นำท้องถิ่น ส่วนสื่อกิจกรรมมาจาก
การจัดประชุมและสื่อมวลชนมาจากวิทยุ/โทรทัศน์ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพาราโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
และเกษตรกรมีความคิดเห็นต่ออนาคตการปลูกยางพาราโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในส่วนของผลการทดสอบ
สมมติฐานนั้น พบว่า ประสบการณ์ปลูกยางพารา รายจ่าย แหล่งเงินทุน ปริมาณน้ำยาง ความรู้เกี่ยวกับการปลูก
ยางพาราและการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตร มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูก
ยางพาราที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย