ผลของลักษณะทางสัณฐานของ hairy root เริ่มต้น อัตราการให้อากาศ และระยะเวลา การกวนอาหารต่อการเพาะเลี้ยง hairy root เจตมูลเพลิงแดง ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ แบบ stirred tank

Main Article Content

พิพัฒน์ จินันทุยา
ศศิวิมล จันทร์สุเทพ
พรศิริ เลี้ยงสกุล
สนธิชัย จันทร์เปรม
เสริมศิริ จันทร์เปรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการขยายระบบเพาะเลี้ยง hairy root เจตมูลเพลิงแดงไปสู่ถังปฏิกรณ์ชีวภาพ แบบ stirred tank โดย hairy root ซึ่งเกิดจากการปลูกเชื้อ Agrobacterium rhizogenes สายพันธุ์ K599 ถูกเพาะเลี้ยงในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ แบบ stirred tank ขนาด 5 ลิตร ใช้อาหารเพาะเลี้ยงเหลวสูตร ½ Murashige and Skoog ที่มีซูโครส 2 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) ปริมาตร 3 ลิตร ภายใต้สภาพมืด ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ปั่นกวนอาหาร 80 รอบต่อนาที และใช้ hairy root เริ่มต้นที่มีความหนาแน่น 2 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) เมื่อเพาะเลี้ยง hairy root เป็นเวลา 20 วัน พบว่า ลักษณะทางสัณฐานของ hairy root อัตราการให้อากาศ และ ระยะเวลาการกวนอาหารเพาะเลี้ยงมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสะสมสาร plumbagin ของ hairy root ซึ่งการใช้กลุ่ม hairy root เริ่มต้นขนาดเล็กและอัตราการให้อากาศ 0.6 ปริมาตรอากาศที่ให้ต่อลิตรของอาหารเพาะเลี้ยงต่อนาที (vvm) ทำให้การเจริญเติบโตและการผลิตสาร plumbagin ของ hairy root สูงกว่าการใช้กลุ่ม hairy root เริ่มต้นขนาดใหญ่และอัตราการให้อากาศ 0.3 vvm สำหรับระยะเวลาการกวนอาหารเพาะเลี้ยงนั้น พบว่า การกวนอาหารเพาะเลี้ยงตลอด 20 วัน ทำให้ hairy root มีการเจริญเติบโตมากกว่า แต่การผลิตสาร plumbagin น้อยกว่าการกวนอาหารเพาะเลี้ยง 16 วัน และหยุดการกวนอาหาร 4 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย