ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อคุณภาพเห็ดฟางโดยการเพาะแบบกองเตี้ย

Main Article Content

นุชจรี ทัดเศษ
อาทิตย์ ทูลพุทธา
ศิวดล แจ่มจำรัส
การันต์ ผึ่งบรรหาร
พิพัฒน์ ชนาเทพาพร
จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว
ธนากร วงษศา
สุมนา เหลืองฐิติกาญจนา

บทคัดย่อ

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนเป็นผลผลิตที่ได้จากการย่อยสลายอินทรียวัตถุของไส้เดือนดินซึ่งมีส่วนประกอบของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อคุณภาพเห็ดฟางโดยการเพาะแบบกองเตี้ยด้วยการเสริมปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในอัตราส่วน 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักเชื้อเห็ดฟาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Complete Randomized Designs; CRD) ทำการทดลองในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2559 พบว่า การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยในเดือนเมษายน 2559 อุณหภูมิภายในกองเห็ดฟาง 38-40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเส้นใยทุกอัตราส่วนมีการเจริญเติบโตช้าใช้ระยะเวลา 5-7 วัน ในขณะที่การเพาะเห็ดฟางในเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งมีอุณหภูมิภายในกองเห็ดฟาง 35-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ทุกอัตราส่วนมีการสร้างเส้นใยภายใน 3 วัน พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในอัตราส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเชื้อเห็ดฟาง ส่งผลให้น้ำหนักรวมของดอกเห็ดฟางเฉลี่ยสูงสุด คือ 444.01 กรัมต่อกอง จำนวนดอกเฉลี่ยสูงสุด คือ 36.67 ดอกต่อกอง จำนวนดอกตูมรูปทรงกระดุมเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.67 ดอกต่อกอง และจำนวนดอกตูมรูปทรงไข่เฉลี่ยสูงสุด 32.00 ดอกต่อกอง ซึ่งให้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติเมื่อเทียบกับการเพาะเห็ดฟางที่ไม่เติมปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (กลุ่มควบคุม) ในขณะที่จำนวนดอกตูมรูปทรงไข่และเปอร์เซ็นต์ดอกตูมรูปทรงไข่ให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เติมปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย