การเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นในอ้อยภายใต้สภาพขาดน้ำ

Main Article Content

ฐิศิรัตน์ คูวิจิตรจารุ
ศรุตะ มานิตกุล
นงลักษณ์ เทียนเสรี

บทคัดย่อ

ดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นเป็นกลไกหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแสดงออกของยีนที่พืชใช้ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงได้มีการใช้เทคนิค MSAP เพื่อตรวจสอบผลของการขาดน้ำต่อระดับและรูปแบบของการเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นในใบอ้อย โดยการชักนำ ให้อ้อยพันธุ์กำ แพงแสน 94-13 และโคลนกำแพงแสน 01-11-6 ได้รับสภาพขาดน้ำเป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง 1 3 และ 5 วัน โดยการเติมสารละลาย PEG 6000 ที่ระดับความเข้มข้น 16 เปอร์เซ็นต์ ลงในอาหารเพาะเลี้ยง ตรวจสอบความผันแปรของการเติมหมู่เมทิลให้ดีเอ็นเอและจำนวนแถบดีเอ็นเอที่ถูกเติมหมู่เมทิล โดยใช้ MSAP ไพรเมอร์ พบว่าการขาดน้ำกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับและรูปแบบของดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นในจีโนมอ้อยได้ จำนวนแถบดีเอ็นเอที่ถูกเติมหมู่เมทิลทั้งหมดจากจำนวนแถบดีเอ็นเอที่เกิดขึ้นทั้งหมดคิดเป็น 64.2 และ 65.1 เปอร์เซ็นต์ ในโคลนกำแพงแสน 01-11-6 และพันธุ์กำแพงแสน 94-13 ตามลำดับ และมีจำนวนของแถบดีเอ็นเอที่ถูกเติมหมู่เมทิล รูปแบบที่ 4 ในโคลนกำแพงแสน 01-11-6 คงที่ แต่ในพันธุ์กำแพงแสน 94-13 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพควบคุม เปรียบเทียบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของแถบดีเอ็นเอที่ถูกเติมหมู่เมทิล พบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันในอ้อยทั้งสองสายพันธุ์ โดยโคลนกำแพงแสน 01-11-6 มีระดับการเกิดดีเมทิลเลชั่นเพิ่มขึ้น ขณะที่พันธุ์กำแพงแสน 94-13 มีระดับการเกิดเมทิลเลชั่นเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับสภาพขาดน้ำเมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่างของรูปแบบเมทิลเลชั่น พบว่ามีความเหมือนกับลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน NADH-plastoquinone oxidoreductase subunit K (ndhK), ยีน hexokinase-1 และ ยีน ribosomal RNA

Article Details

บท
บทความวิจัย