การตรึงโลหะหนักในดินที่ปนเปื้อนบริเวณรอบเหมืองสังกะสีด้วยดินตะกอน จากโรงผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในการปลูกข้าว

Main Article Content

อนุพงศ์ คุ้มเวช
คณิตา ตังคณานุรักษ์
นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์
วัชรพงษ์ วาระรัมย์

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพของดินตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ตรึงโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน และลดการชะละลายของโลหะหนักออกจากดิน ทำการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างดินบน (0-15 เซนติเมตร) บริเวณเหมืองสังกะสี ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผลการวิเคราะห์โลหะหนักที่ปนเปื้อนในดินด้วยวิธี US-EPA 3051 และเครื่อง AAS พบว่าดินมีความเข้มข้นของแคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี และแมงกานีส เท่ากับ 37.60, 770.00, 135.51 และ 500.80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดโลหะหนักของดินตะกอนโดยการทดลองแบบแบตช์ พบว่า ดินตะกอน 2 กรัม สามารถดูดซับแคดเมียม และสังกะสีที่ความเข้มข้น 10-40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ได้มากกว่าร้อยละ 95.00 และแมงกานีสร้อยละ 59.72 อัตราส่วนของดินตะกอนต่อดินปนเปื้อนโลหะหนักที่อัตรา 1:1 มีประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักได้ดีที่สุด ชุดการทดลองปลูกข้าวโดยการสุ่มตัวอย่างสมบูรณ์มี 7 ชุดการทดลอง ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าการใช้ดินปนเปื้อนโลหะหนัก 5 กิโลกรัม ต่อดินตะกอน 5 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมี 20 กิโลกรัม และมูลสุกร 70 กิโลกรัม ให้ผลผลิตข้าวสูงสุด (889.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ) และน้ำหนักเมล็ดข้าว 38.60 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ไม่พบการปนเปื้อนโลหะหนักในเมล็ดข้าว นอกจากนี้ปริมาณโลหะหนักในน้ำชะของชุดการทดลองที่มีดินตะกอนมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย