ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา ในนาข้าว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ฐิติภัทร มีบุบผา
สุพัตรา ศรีสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และการเปิดรับข่าวสาร
เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 2) ความรู้เกี่ยวโรคที่เกิดจากเชื้อราในนาข้าวและความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา
3) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราในนาข้าวของเกษตรกร
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จากกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 205 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 59.5 อายุเฉลี่ย 50.35 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.69 คน ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 28.41 ปีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 29.95 ไร่
ผลผลิตเฉลี่ยจากการปลูกข้าว 858.73 กิโลกรัมต่อไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.91 คน รายจ่ายในการปลูกข้าวเฉลี่ย
4,225.31 บาทต่อไร่ และรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 6,547.70 บาทต่อไร่ เกษตรกรเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผ่านสื่อบุคคลจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด สื่อกิจกรรมจากการฝึกอบรมมาก
ที่สุด และสื่อมวลชนจากเอกสารเผยแพร่มากที่สุด 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากเชื้อราในนาข้าว
เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ความคิดเห็นของ
เกษตรกรที่มีต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4) ปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ไม่สามารถเก็บไว้ได้ไม่นาน ประสิทธิภาพการควบคุมและป้องกันโรคเชื้อรายังเห็นผลช้ากว่าการใช้สารเคมี และข้อ
เสนอแนะ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาให้มากขึ้น และ
รัฐบาลควรส่งเสริมให้ผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาทดแทนการใช้สารเคมี

Article Details

บท
บทความวิจัย