ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีการกรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ศิริวรรณ สีห์จักร์
สุพัตรา ศรีสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเปิดรับข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีการกรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการ
กรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี 3) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีการกรีดยางของ
การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีการกรีดยางของ
การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมเทคโนโลยีการ
กรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ปี 2558 จำนวน 150 ราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 45.67 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิก
ในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน ประสบการณ์ในการกรีดยางเฉลี่ย 9.84 ปี พื้นที่ทำสวนยางเฉลี่ย 16.71 ไร่ พื้นที่สวนยาง
เปิดกรีดเฉลี่ย 14.63 ไร่ ผลิตยางก้อนถ้วยร้อยละ 58.0 แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.81 คนและแรงงานจ้างเฉลี่ย 1.14
คน รายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 214,716 บาทต่อปี รายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 165,130 บาทต่อปี รายได้จากการทำสวน
ยางเฉลี่ย 135,888 บาทต่อปี รายจ่ายจากการทำสวนยางเฉลี่ย 33,210 บาทต่อปี การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยี
การกรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ผ่านสื่อ ได้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จากการอบรม และจาก
โทรทัศน์ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการกรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี โดยเฉลี่ย
อยู่ในระดับมาก 3) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีการกรีดยางของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี
โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านวิธีการกรีดยางโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านระบบกรีดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้าน
การได้รับประโยชน์และผลตอบแทนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ปัญหาที่พบคือ การขาดแคลนแรงงานกรีดยาง
มืออาชีพ และด้านราคายางในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำกว่าในอดีตที่ผ่านมา ข้อเสนอแนะการยางแห่งประเทศไทยควรเพิ่ม
การฝึกอบรมเทคโนโลยีการกรีดยางในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และควรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่ม
ผลิตภัณฑ์ยางพารา

Article Details

บท
บทความวิจัย