การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

นัดดา รัศมีแพทย์
สุพัตรา ศรีสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเปิดรับข่าวสารทาง
ด้านการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพารา และความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร
2) สภาพการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชากร ได้แก่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบ
อาชีพเสริมในกลุ่มพืช จำนวน 114 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ 51.8) อายุเฉลี่ย 49.72 ปี จบการ
ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่ 4 คน มีประสบการณ์ในการทำสวนยางพาราเฉลี่ย
25.1 ปี มีรายได้เฉลี่ย 41,333.33 บาทต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ย 24,140.34 บาทต่อเดือน จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร
เฉลี่ย 40.51 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของตนเองทั้งหมด เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 33.02 ไร่ สามารถเปิดกรีดยางเฉลี่ย 22.36
ไร่ ใช้แรงงานในการทำสวนยางพาราส่วนใหญ่ 2 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน มีอัตราส่วนแบ่งรายได้จาก
ผลผลิตยางพารา คือ เจ้าของสวน 60 คนงาน 40 เกษตรกรได้รับข่าวสารทางการเกษตรจากโทรทัศน์ เพื่อนเกษตรกร
และการจัดประชุม เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราในระดับมาก (ร้อยละ 96.5)
2) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ เป็นดินร่วนปนทราย ปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราเฉลี่ย 10.62 ไร่ โดย
ต้นยางพารามีอายุเฉลี่ย 2.36 ปี พืชที่ปลูกเสริมรายได้ในสวนยางพาราส่วนใหญ่ เช่น กล้วยต่างๆ พริก มะละกอ ข้าวโพด
สับปะรด แตงกวา เป็นต้น พืชที่ใช้ระยะเวลาในการดูแลรักษานานที่สุด คือ ทุเรียน พืชที่ใช้ระยะเวลาในการดูแลรักษา
น้อยที่สุด คือ แตงกวา พืชที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ สับปะรด พืชที่สร้างรายได้เฉลี่ยมากที่สุด คือ ขมิ้นชัน โดย
พันธุ์พืชที่ปลูกเสริมรายได้เกษตรกรจัดหามาจากพื้นที่ใกล้เคียง การเตรียมดินโดยไถพลิกดิน อาศัยน้ำฝน เกษตรกร
ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมี ใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นส่วนน้อย โรคที่พบส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา
การเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้แรงงานในครัวเรือน ผลผลิตส่วนใหญ่จะมีพ่อค้า/แม่ค้ามารับซื้อ เกษตรกรมีแนวโน้มใช้พื้นที่
เท่าเดิมในการปลูกพืชเสริมรายได้ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด เกษตรกรเห็นว่าการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพารามี
ประโยชน์ในการช่วยเพิ่มรายได้ 3) ปัญหาที่พบ เกษตรกรต้องการความรู้เพิ่มเกี่ยวกับชนิดของพืชที่สามารถปลูกเสริม
รายได้ในสวนยางพารา วิธีการดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย การใช้สารป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้อง การ
ตรวจวิเคราะห์ดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย