ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักหวานป่าในตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

นภัสร เอนกบุญ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

รมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร 4) การเปิดรับข่าวสารทางด้านการเกษตร 5) ความคิดเห็นของ
เกษตรกรผู้ปลูกผักหวานป่าและ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ พฤติกรรม
ตามเศรษฐกิจพอเพียงและการเปิดรับข่าวสาร กับความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกผักหวานป่า เก็บรวบรวมข้อมูลโดย
การใช้แบบสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกผักหวานป่าในตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี จำนวน 160 ราย สถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.46 ปี มีระดับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
มีพื้นที่ปลูกผักหวานป่าเฉลี่ย 3.06 ไร่ เคยได้รับข่าวสารทางการเกษตรจากสื่อบุคคลโดยมาจากผู้นำชุมชน ส่วนสื่อมวลชน
มาจากโทรทัศน์ และไม่เคยรับข่าวสารจากสื่อเฉพาะกิจ มีพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉลี่ยรวมอยู่ใน
ระดับมาก และเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการปลูกผักหวานป่าโดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนของผลการทดสอบ
สมมติฐานนั้น พบว่า แรงงานในครัวเรือน แรงงานจ้าง และรายจ่ายในการปลูกมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกร
ที่มีต่อการปลูกผักหวานป่าด้านการปลูกและการดูแลรักษา ระดับการศึกษา พื้นที่ปลูก รายจ่ายในการปลูก พฤติกรรม
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผล ด้านภูมิคุ้มกันที่ดีและด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของ
เกษตรกรด้านโรคแมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด พฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผลและ
ด้านภูมิคุ้มกันที่ดีมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกรด้านการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ พฤติกรรมตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผลมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักหวานป่าด้านการ
ลงทุนและผลตอบแทนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย