ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภค ร้าน โกลเด้น เพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

วชิระ น้อยนารถ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอด
สารพิษ 3) พฤติกรรมการบริโภคที่มีต่อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ 4) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอด
สารพิษ 5) การตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ 6) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ความรู้
เกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ พฤติกรรมการบริโภคที่มีต่อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ การเปิดรับข่าวสารเกี่ยว
กับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 34.71 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือ
เทียบเท่า รายได้ 17,001-25,000 บาท/เดือน มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษอยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่
ซื้อผัก ปริมาณ 1-3 ชิ้น จำนวน 1-3 ชนิด โดยซื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ
จากสื่อมวลชนโดยมาจากอินเทอร์เน็ต/โทรทัศน์ สื่อบุคคลจากบุคคลที่รู้จัก และสื่อเฉพาะกิจโดยโปสเตอร์ มีการตัดสิน
ใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ภาพรวมการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษอยู่ใน
ระดับมาก ในส่วนของสมมติฐานนั้น พบว่า ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ
พฤติกรรมการบริโภคที่มีต่อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ มีความ
สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05, 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย