การคัดเลือกมะละกอพันธุ์อาร์เอ็มยูเพื่อการบริโภคผลดิบและความทนทานต่อ โรคไวรัสใบจุดวงแหวนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

รภัสสา จันทาศรี
สุนทร โชคสวัสดิ์ธนะกิจ
วิวัฒน์ ไชยบุญ

บทคัดย่อ

การคัดเลือกมะละกอพันธุ์อาร์ เอ็ม ยู เพื่อบริโภคผลดิบและความทนทานต่อโรคไวรัสใบจุดวงแหวนในพื้นที่
จังหวัดมหาสารคาม ทำการคัดเลือกพันธุ์ โดยใช้วิธีการแบบ pure line selection และปลูกจำนวน 4 พันธุ์ คือ พันธุ์
อาร์ เอ็ม ยู ครั่งเนื้อเหลือง แขกดำ และแขกนวลกำแพงแสน ใน 2 อำเภอ คือ อำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอบรบือพันธุ์
ละ 100 ต้น/พื้นที่ในเดือนตุลาคม 2557 ถึงกันยายน 2558 ผลการวิจัยพบว่าความบริสุทธิ์และความสม่ำเสมอของ
พันธุ์อาร์ เอ็มยู ในการผสมตัวเองรุ่น S3 มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เป็น
อย่างดีพบดอกสมบรูณ์เพศชนิด E longata มากขึ้น 90 เปอร์เซ็นต์มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในน้ำเท่ากับ 13.6
องศาบริกซ์ (°Brix) ในปี 2557 ปริมาณผลต่อต้นน้ำหนักผลสดต่อลูกความยาวผล ความหนาเนื้อมีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติการทดสอบความเหมาะสมต่อการบริโภคผลดิบของผู้นิยมบริโภคส้มตำในพื้นที่จังหวัด
มหาสารคามโดยสุ่มเก็บแบบสอบถามจากผู้บริโภคมะละกอจำนวน 100 คนพบว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคเห็นว่า
น้ำหนักของผลมีความเหมาะสมรสชาติของเส้นมะละกอดิบมีความเหมาะสมมาก 95 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าความกรอบ
ของเนื้อมีความเหมาะสมมากและ 88 เปอร์เซ็นต์เห็นว่ารสชาติของส้มตำมีความเหมาะสมมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย