ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

Main Article Content

พัชราวดี ศรีบุญเรือง
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล
ชลาธร จูเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 3) ความ
ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และ 5) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง
ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกร
ผู้ปลูกยางพารา จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูก
ยางพาราที่ศึกษา ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.00 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 50.56 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดต่ำกว่า
ปริญญาตรี ร้อยละ 70.20 รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 8,994.44 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 2,569.29 บาท จำนวนสมาชิก
ในครอบครัว 1-2 คน ร้อยละ 60.10 ใช้เทคโนโลยีสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 45.81 รองลงมาคือ
สมาร์ทโฟน ร้อยละ 18.56 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ไลน์ ร้อยละ 15.56 ความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.38 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ด้านครอบครัว ค่าเฉลี่ย 2.61 จากการ
ทดสอบสมมติฐานพบว่า ด้านของอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพแตกต่างกัน และ
รายได้แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตด้านครอบครัว ด้านชีวิตการทำงาน ด้านความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจ และด้านภาพรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การยางแห่งประเทศไทย. 2560. ผลประเมินสถานการณ์การค้า- การส่งออกยางพาราไทย. (Online). http://www.rubber.co.th/
mobile_detail.php?cid=386&nid=4688. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2560.การยางแห่งประเทศไทย. 2561. ราคายางพารา. (Online).
http://www.rubber.co.th/mobile_detail.php?cid=386&nid=4688. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2561.
กุสุมา โกศล. 2555. คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย: ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช.
(Online). http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2555/b176600.pdf. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2560.
ชลิต ศานติวรางคณา. 2558. คุณภาพชีวิตของเกษตรกร: กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ภาคกลาง. (Online). http://www.ptu.ac.th/journal/
data/7-2/7-2-6.pdf. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2560.
ณัฎฐนันท์ โพธิจันทร์. 2559. ศึกษาความต้องการความช่วยเหลือของเกษตรกรชาวสวนยางในความรับผิดชอบของส?ำนักงานกองทุน
สงเคราะห์การท?ำสวนยางอ?ำเภอแกลง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา., ชลบุรี.
นภาพร เวชากามา และรวี หาญเผชิญ. 2556. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร
ชาวสวนยางพารา จังหวัดบึงกาฬ. เกษตรพระวรุณ.10: 175-182.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2556. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตบนมือถือเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของวิสาหกิจชุมชนใน
กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.12: 8-15.
มารีนา มาหมื่น ยุทธนา ธรรมเจริญ และศิริชัย พงษ์วิชัย. 2557. พฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร.
วารสารการจัดการสมัยใหม่.12: 90-97.
ศุภรทิพย์ นิลารักษ์. 2557.คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางภายในเขตพื้นที่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สมาคมยางพาราไทย. 2552.การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง. (Online). http://www.thainr.com/th/message_detail.
php?MID=27. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2560.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2553. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง.
ฐานบัณฑิต. กรุงเทพฯ. 177 น.
สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง. 2559. ข้อมูลการปลูกยางพารา. แหล่งข้อมูล: http://www.rayong.doae.go.th/plant%20econome.
htm. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
สำนักงานเกษตรอ?ำเภอบ้านค่าย. 2560. ข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. แหล่งข้อมูล: http://bankhai.rayong.doae.go.th/.
ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560.
สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แหล่งข้อมูล: http://www.nesdb.go.th/
ewt_dl_link.php?nid=6422. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560