พืชร่วมในสวนยางพาราทางภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบและรูปแบบการปลูกอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ระวี เจียรวิภา

บทคัดย่อ

จากสภาวะวิกฤติราคายางพาราตกต่ำ ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจปลูกพืชแซมและพืชร่วมในสวนยางพารา
เพื่อเสริมรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยที่จัดเป็นแหล่งปลูกยางพาราขนาดใหญ่ และนิยม
ปลูกทั้งพืชแซมและพืชร่วมหลากหลายชนิด เนื่องจากต้องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างระหว่างแถวยางพาราและเพิ่ม
รายได้ สำหรับการเลือกปลูกพืชแซมและพืชร่วมจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์สำคัญของเกษตรกร ได้แก่ การเสริมรายได้
ก่อนและระหว่างการกรีดยาง การบริโภคในครัวเรือน การใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค การใช้สอยเพื่อที่อยู่อาศัย การใช้
เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง และการประกอบงานประเพณีในชุมชน ทั้งนี้ พืชร่วมที่มีศักยภาพในการเจริญ
เติบโตในระยะเปิดกรีดอาจแบ่งเป็น กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชผัก กลุ่มสมุนไพร กลุ่มไม้ผล และกลุ่มไม้ยืนต้น
โดยปจั จัยที่เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตหรือการมีชีวิตรอดจากการแข่งขันระหว่างพืชปลูกเหล่านี้ในสวนยางพารา
มีข้อจำกัดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ การแข่งขันระบบรากและความต้องการแสงของพืชปลูก สำหรับแนวทางการปฏิบัติ
เพื่อรองรับระบบการปลูกพืชแซมและพืชร่วมให้มีศักยภาพ ด้านการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตนั้น มี 2 รูปแบบ
หลัก คือ 1) การใช้ระยะปลูกแบบแถวเดี่ยวเว้นแถว (single row and double space) เช่น 3x14 เมตร หรือ 2) แถวคู่
พร้อมกับการเว้นระยะห่างระหว่างแถวเพิ่มขึ้น 2 เท่า (double row and double space) เช่น 3x4x14 เมตร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ลักษณะ จำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการปุ๋ยและน้ำอย่างเพียงพอ การทำความเข้าใจถึงข้อจำกัด
จากการปลูกพืชร่วมยางพาราในลักษณะเดิม และการปรับปรุงรูปแบบการทำสวนยางพาราใหม่ จะทำให้เป็นการ
จัดการสวนยางพาราได้อย่างยั่งยืนและนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรสวนยางพาราได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จิระ สุวรรณประเสริฐ กลอยใจ คงเจี้ยง ดาริกา ดาวจันอัด สายชล จันมาก จารุภา รอดทุกข์ สำราญ สะรุโณ พรอุมา อุไรพันธ์ และ เกษตร
ชาติ ทองนุ้ย. 2557. ศักยภาพในการให้ผลผลิตและวิธีการเขตกรรมที่เหมาะสมสำหรับอ้อยอาหารสัตว์โคลน Phil 58-260 x K
84-200. ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 1: 7-12.
นฤมล แก้วจำปา ชุตินันท์ ชูสาย สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สันติไมตรี ก้อนคำดี กิริยา สังข์ทองวิเศษ และ อนันต์ วงเจริญ. 2557.
ผลของพืชแซมยางพาราต่างชนิดกันต่อปริมาณธาตุอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ของดิน. แก่นเกษตร 42 (ฉบับพิเศษ 3):
443-449.
นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2558. สรีรวิทยาของพืชภายใต้สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัดดา รัศมีแพทย์ และ สุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2560. การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
ว.เกษตรพระจอมเกล้า 35: 117-124.
บัญชา สมบูรณ์สุข ประวัติ เวทย์ประสิทธิ์ ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต อาซีซัน แกสมาน และพีระพงศ์ ทีฆสกุล. 2556. แนวทางแก้ไขปัญหา
ราคายางพาราตกต่ำ. เอกสารเผยแพร่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปฏิญญา สระกวี สายัณห์ สดุดี และ ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี. 2553. ผลของระบบการปลูกพืชร่วมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ลองกองและยางพารา. หน้า 89-99. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการ ระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระบบเกษตรเพื่อความสมดุล
ของชีวิตและสิ่งแวดล้อม หน้า 89-99.
ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี. 2548. เอกสารประกอบการสอนวิชา หลักวนเกษตร. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี และ สุรชาติ เพชรแก้ว. 2558. วนเกษตรยางพารา. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี บัญชา สมบูรณ์สุข และ ปฏิญญา สระกวี. 2549. ตัวอย่างและรายได้ของ วนเกษตรยางพารา:
กรณีศึกษาในภาคใต้. ใน รายงานการสัมมนาวิชาการระบบวนเกษตร ครั้งที่ 3 ของเครือข่ายการศึกษาวนเกษตรแห่งประเทศไทย
ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 11-12 สิงหาคม 2547 หน้า 85-94. กรุงเทพฯ: เครือข่ายการศึกษาวนเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี สาระ บำรุงศรี เยาวนิจ กิตติธรกุล นงลักษณ์ รักเล่ง ผกามาส ทองคำและ อภัย จันทชูโต. 2557. การจัดการความ
รู้เรื่องการจัดการสวนยางพาราแบบวนเกษตรเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 2 ส่วนงานวิจัยและ
จัดการองค์ความรู้ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน และ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พงศกร สุธีกาญจโนทัย. 2560. การปรับตัวลักษณะสรีรวิทยาและการเจริญเติบโตของต้นกาแฟโรบัสต้าภายใต้สวนยางพารา. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พงศกร สุธีกาญจโนทัย ระวี เจียรวิภา บัญชา สมบูรณ์สุข และชนินทร์ ศิริขันตยกุล. 2560. ผลของการให้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการ
เจริญเติบโตของต้นกาแฟโรบัสต้าในสวนยางพารา. ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4 (4): 25-31.
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ. 2557. แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งที่มา:
http://www.oae.go.th/download/download_hot/2557/The-rubber-development.pdf
ระวี เจียรวิภา อมรรัตน์ บัวคล้าย และ M. X. Zheng. 2552. ความหลากหลายของพืชกลุ่มเฟินและปาล์มในสวนยางพาราทางภาคใต้ของ
ประเทศไทย. ว.วิทย.กษ. 40(1)(พิเศษ) : 517-520.
ระวี เจียรวิภา ปิ่น จันจุฬา และพันธุ์ทิพย์ ปานกลาง. 2560. การปรับปรุงการปลูกพืชอาหารสัตว์ในสวนยางพาราเพื่อการควบคุมวัชพืช
และผลิตอาหารเลี้ยงแพะ. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ระวี เจียรวิภา และสุรชาติ เพชรแก้ว. 2560. การชดเชยปริมาณปุ๋ยเคมีโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ยางพาราที่ปลูกสละเป็นพืชร่วม. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วินิจ เสรีประเสริฐ. 2544. ระบบการปลูกพืช. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไววิทย์ บูรณธรรม. 2542. แนวทางการปลูกพืชสกุลระกำในสวนยางเพื่อเสริมรายได้. ว. ยางพารา 19 (2): 102-133.
ศิริจิต ทุ่งหว้า สมยศ ทุ่งหว้า และ ประสงค์ หนูแดง. 2543. การตัดสินใจทำการเกษตรระบบไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในอำเภอสทิงพระ
จังหวัดสงขลา. วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 32: 221-242.
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. 2557. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร: ยางพารา. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=13577
สมเดช วรลักษณ์ภักดี ไววิทย์ บูรณธรรม สมยศ ชูกำเนิด และ พนัส แพชนะ. 2546. รายงานผลการวิจัยยางพารา การปลูกพืชสกุลระกำ
เป็นพืชร่วมยางเพื่อเสริมรายได้. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล พลากร สัตย์ซื่อ และอริศรา ร่มเย็น. 2558. ความรู้ภาคปฏิบัติและบทเรียนกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อ
เพิ่มพื้นที่การปลูกพืชร่วมยาง. ว. พัฒนาสังคม 17: 35-50.
สมยศ ชูกำเนิด. 2541. ผลกระทบจากการแข่งขันของหวายต่อยางพาราภายใต้ระบบปลูกเป็นพืชร่วม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สถาบันวิจัยยาง. 2547. ข้อมูลวิชาการยางพารา 2547. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สถาบันวิจัยยาง. 2555. ข้อมูลวิชาการยางพารา 2555. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุภาพร กิตติเดโช กวินกร วรรัชตเมธิน และ ภราดร ดลภราดร. 2555. ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การแก้ไขปัญหาราคา
ยางพาราตกต่ำ. กลุ่มประมวลผลข้อมูลและมติคณะรัฐมนตรี สำนักบริหารงานสารสนเทศ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
สวีณา พลพืชน์. 2556. วิกฤตยางพารา. กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาพผู้แทนราษฎร.
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การท?ำสวนยาง (สกย.). 2554. การขอรับทุนสงเคราะห์ปลูกแทน. การยางแห่งประเทศไทย.
แหล่งที่มา:http://km.rubber.co.th/
Ciro, A.R. and M.S. Bernardes. 2008. The potential for increasing rubber production by matching tapping in density to leaf
area index. Agroforest Syst. 72: 1-13.
Da Matta, F.M. 2004. Ecophysiological constraints on the production of shaded and unshaded coffee: a review. Field Crop.
Res. 86: 99-114.
Jongrungrot, V., S. Thungwa and D. Snoeck. 2014. Tree-crop diversification in rubber plantations to diversify sources of
income for small-scale rubber farmers in Southern Thailand. Bois et Forêts des Tropiques 321: 21-32.
Langenberger, G., G. Cadisch, K. Martin, S. Min and H. Waibel. 2017. Rubber intercropping: a viable concept for the 21st
century? Agroforest Syst 91: 577-596.
Partelli, F.L., A.V. Araújo, H.D. Vieira, J.R.M. Dias, L.F.T. de Menezes and J.C Ramalho. 2014. Microclimate and development
of ‘Conilon’ coffee intercropped with rubber trees. Pesq. agropec. bras. 49: 872-881.
Pathiratna, L.S.S., M.K.P. Perera and B.W. Wijesuriya. 2004. Performance of cinnamon Cinnamomum verum J. Pres.)
intercropped at different spacings of rubber (Hevea brasiliensis Muell. Arg.). Nat. Rubber Res. 17(2): 150-158.
Rodrigo, V.H.L., C.M. Stirling, Z. Teklehaimanot and A. Nugawela. 2001. Intercropping with banana to improve fractional
interception and radiation-use efficiency of immature rubber plantations. Field Crops Res. 69: 237-249.
Romyen, A., P. Sausue and S. Charenjiratragul. 2018. Investigation of rubber-based intercropping system in Southern
Thailand. Kasetsart J. (Soc. Sci.) 39: 135-142.
Saelim, S., Sdoodee, S. and Chiarawipa, R. 2019. Monitoring seasonal fine root dynamics of Hevea brasiliensis clone RRIM
600 in Southern Thailand using minirhizotron technique. Songklanakarin Journal of Science and Technology 41 (6).
(In Press)
Somboonsuke, B. 2001. Recent evolution of rubber-based farming systems in southern Thailand. Kasetsart J. (Soc. Sci.)
22: 61-74.
Somboonsuke, B. and P. Cherdchom. 2000. Socio-economic adjustment of small holding rubber-based farming system: A
case study in southern region Thailand. Kasetsart J. (Soc. Sci.) 21: 158-177.
Somboonsuke, B., P.S. Ganesh and H. Demaine. 2002. Rubber-based farming system in Thailand: Problems, potential,
solution and constraints. J. Rural Dev. 21: 85-113.
Snoeck D., R. Lacote, Z.J. Keli, A. Doumbia, T. Chapuset, P. Jagoret and E. Gohet. 2013. Association of hevea with other
tree crops can be more profitable than hevea monocrop during first 12 years. Ind. Crops Prod. 43: 578-586.
Stür, W.W. and H.M. Shelton. 1990. Review of forage resources in plantation crops of Southeast Asia and the Pacific. pp.
25-31. In: Forages for Plantation Crops. (Shelton, H.M. and Stür, W.W., eds.), Proceedings of Workshop, Sanur Beach,
27-29 June 1990, Bali, Indonesia.
Vandermeer, J. 1989. The Ecology of Intercropping. Cambridge University Press, Cambridge.
Wu, J., W. Liu and C. Chen. 2016. Can intercropping with the world’s three major beverage plant help improve the water
use of rubber trees? J. Appl. Ecol. 53: 1787-1799.
Zeng, X.H., M.D. Cai and W.F. Lin. 2012. Improving planting pattern for intercropping in the whole production span of
rubber tree. Afr. J. Biotechnol. 11(34): 8484-8490.