การสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากฝุ่นผงจากเปลือกมะพร้าวด้วยตัวทำละลาย ร่วมกับคลื่นอัลตร้าโซนิค

Main Article Content

พรพรรณ สิระมนต์
ธิติมา วงษ์ชีรี
สารภี ยวดยง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการสกัดแยกสารในกลุ่มฟีนอลิกจากฝุ่นผงจากเปลือกมะพร้าวผลิตผลพลอยได้จาก
กระบวนการแปรรูปมะพร้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจาก
ตัวอย่างโดยใช้ตัวทำละลายร่วมกับคลื่นอัลตร้าโซนิคช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสกัด ในกระบวนการสกัดได้ศึกษา
3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสกัด ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ และระยะเวลาในการสกัด จากผลการทดลอง
พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากตัวอย่างโดยคลื่นอัลตร้าโซนิค คือ การสกัดโดยใช้ตัวทำ
ละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ซึ่งที่สภาวะ
นี้ให้เปอร์เซ็นต์ผลผลิตของสารสกัดร้อยละ 29.57 ของน้ำหนักแห้ง ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดที่สกัดได้เท่ากับ
951.33 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของน้ำหนักตัวอย่างแห้ง เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของ
สารสกัดหยาบที่ได้ พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยมีความเข้มข้นที่กำจัดอนุมูลอิสระได้
ร้อยละ 50 (IC50) จากวิธี DPPH เท่ากับ 362.77 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และจากวิธี ABTS เท่ากับ11.96 ไมโครกรัม
ต่อมิลลิลิตร เทียบกับน้ำหนักสารสกัดหยาบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญวรรณ ก. ศรีสุวรรณ, ธำรงค์ เมฆโหรา และสมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช. 2557. การจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใย
มะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ว. เกษตรพระจอมเกล้า 32(3): 45-51.
วรัญญา วงศ์วานิช และกิตติชัย บรรจง. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการสกัดน้ำมันเมล็ดองุ่นด้วยวิธีการแช่และการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
ช่วยสกัด. ว. เกษตรพระจอมเกล้า 34(3): 9-21.
Chotimarkon, C., S. Benjakul and N. Silalai. 2008. Antioxidant components and properties of five long-grained rice bran
extracts from commercial available cultivars in Thailand. Food Chem. 111: 636-841.
Etim, U.J., S.A. Umoren and U.M. Eduok. 2016. Coconut coir dust as a low cost adsorbent for the removal of cationic dye
from aqueous solution. J. Saudi Chem. Soc. 20: S67–S76.
Hagerman, A.E., K.M. Riedl, G.A. Jones, K.N. Sovik, N.T. Ritchard, P.W. Hartzfeld and T.L. Riechel. 1998. High molecular
weight plant polyphenolics (tannins) as biological antioxidants. J. Agric. Food Chem. 46: 1887-1892.
Israel, A.U., R.E. Ogali, O. Akaranta and I.B. Obot. 2011. Extraction and characterization of coconut (Cocos nucifera L.)
coir dust. Songklanakarin J. Sci. Technol. 33(6): 717-724.
Murray, J.C., J.A. Burch, R.D. Streilein, M.A. Lannacchione, R.P. Hall and S.R. Pinnell. 2008. A tropical antioxidant solution
containing vitamins C and E stabilized by ferulic acid provides protection for human skin against damage caused
by ultraviolet irradiation, J. Am. Acad. Dermatol., 59: 418-425.
Olajuyigbe, O.O. and A.J. Afolayan. 2011. Phenolic content and antioxidant property of the bark extracts of Ziziphus mucronata
Willd. subsp. mucronata Willd. BMC Complement. Altern. Med., 130(11): 1-8.
Re, R., N. Pellegrini, A. Proteggente, A. Pannala, M. Yang and C. Rice-Evans. 1999. Antioxidant activity applying an improved
ABTS radical cation decolorization assay. Free Radic. Biol. Med., 26: 1231-1237.
Rodrigues, S. and G.A.S. Pinto. 2007. Ultrasound extraction of phenolic compounds from coconut (Cocos nucifera) shell
powder. J. Food Eng. 80: 869-872.
Rodrigues, S., G.A.S. Pinto and F.A.N. Fernandes. 2008. Optimization of ultrasound extraction of phenolic compounds from
coconut (Cocos nucifera) shell powder by response surface methodology. Ultrason. Sonochem. 15: 95-100.
Singleton, V.L. and J..A. Rossi. 1965. Colorimetry of total phenolics and phosphomolybdicphosphotungstic acid reagents.
Am. J. Enol. Vitic. 6: 144-158.
Siramon, P. and Y. Ohtani. 2007. Antioxidative and antiradical activities of Eucalyptus camaldulensis leaf oils from Thailand.
J. Wood Sci. 53(6): 498-504