การหาสภาวะที่เหมาะสมโดยใช้ Central Composite Design (CCD) เพื่อการผลิต แคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula rubra MJU18 บนฝุ่นข้าวโพดแบบการหมักแห้ง

Main Article Content

ณัฐพร จันทร์ฉาย
อภิรดี เสียงสืบชาติ
ศันศนีย์ บุญเกิด

บทคัดย่อ

การศึกษาการผลิตแคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula rubra MJU18 บนฝุ่นข้าวโพดแบบการหมักแห้ง
ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแคโรทีนอย์จากยีสต์ R. rubra MJU18 บนฝุ่นข้าวโพดเพื่อที่จะนำไปเป็นแหล่ง
แคโรทีนอยด์ในอาหารสัตว์ โดยที่อาหารสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสัตว์ เพื่อให้ได้การเจริญเติบโตที่ดี และผลผลิต
ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดปริมาณของเสียจากทางเกษตร และลดปัญหามลพิษทางอากาศจากการ เผาไหม้ฝุ่น
ข้าวโพดของเกษตรกรอีกด้วย โดยสภาวะเริ่มต้นที่ใช้ในการหมัก คือ ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส
ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นที่ 7 กลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอนที่ 0.1 กรัม (ปริมาตรต่อปริมาตร) โดยใช้แอมโมเนียมซัลเฟต
เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ 0.01 กรัม (ปริมาตรต่อปริมาตร) และใช้สารสกัดจากยีสต์เป็นปัจจัยส่งเสริมการเจริญเติบโต
ที่ 0.01 กรัม (ปริมาตรต่อปริมาตร) พบว่าการเจริญเติบโต และปริมาณแคโรทีนอยด์สูงสุดในชั่วโมงที่ 96 ของการหมัก
โดยมีปริมาณเซลล์เท่ากับ 18.79 กรัม/กรัมฝุ่นข้าวโพด และปริมาณแคโรทีนอยด์เท่ากับ 22.60 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำ
หนักฝุ่นข้าวโพดแห้ง และจากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการผลิตแคโรทีนอยด์ โดยการ
ออกแบบการทดสอบแบบ Central Composite Design (CCD) พบว่าสภาวะที่เหมาะสม คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง
เท่ากับ 5.5 มีกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอนที่ปริมาณ 15 กรัมต่อกิโลกรัม มีแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจนที่
ปริมาณ 2 กรัมต่อกิโลกรัม มีสารสกัดจากยีสต์เป็นปัจจัยส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ปริมาณ 2 กรัมต่อกิโลกรัม และ
อุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส โดยมีการเติบโตเท่ากับ 58.32 กรัม/กรัมฝุ่นข้าวโพด และปริมาณแคโรทีนอยด์เท่ากับ
61.12 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักฝุ่นข้าวโพดแห้ง ดังนั้น จึงสามารถนำฝุ่นข้าวโพดที่หมักร่วมกับเชื้อยีสต์
R.rubra MJU18 ไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องศึกษาในระดับอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการลด
ปัญหาหมอกควัน และสามารถเพิ่มมูลค่าของเสียทางการเกษตรได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนัสนันท์ โรจนกมลสันต์ ชาลี มะลิซ้อน และวรพจน์ สุนทรสุข. 2548. การผลิตแคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula glutinis DM28
บนรำข้าวแบบการหมักแห้ง. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สาวิตรี ลิ่มทอง. 2549. ยีสต์: ความหลากหลาย และเทคโนโลยีชีวภาพ.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัเกษตรศาสตร์.
ณัฐพร จันทร์ฉาย และชาญณรงค์ สุขชา. 2554. สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตแคโรทีนอยด์ และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ
ของยีสต์ (Rhodotorula rubra). ใน การประชุมวิชาการแม่โจ้วิจัยครั้งที่ 1.
ณัฐพร จันทร์ฉาย และศันศนีย์ บุญเกิด. 2559. การผลิตแคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula rubra MJU11 บนฝุ่นข้าวโพดแบบการหมัแห้ง.
วารสารเกษตรพระจอมเกลา้ คณะเทคโนโลยกี ารเกษตร สถาบนั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ เจา้ คณุ ทหารลาดกระบงั . 34(2): 122-132.
สุมารี สุขเถียร์. 2552. สภาวะที่เหมาะสมบางประการสำหรับการผลิตแคโรทีนอยด์จากเชื้อ Rhodotorula rubra. สาขาวิชาเทคโนโลยี
ชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ.
Chanchay, N. 2013. Optimal condition for growth of Rhodotorula rubra and antioxidation characteristics of its carotenoid.
Biotechnology. PhD. Thesis. : Chiang Mai University.
Foss, P. Storebakken, T., Schiedt, K., Liaaen, J., Austreg, E. and Steriff, K. 1984. Carotenoids in diets for salmonids I :
pigmentation of rainbow trout with the individual optical isomers of astaxanthin in comparison with canthaxanthin.
Aquaculture 41 : 213-226.
Vazquez, M. 2001. Effect of the Light on Carotenoid Profiles of Xanthophyllom aces dendrorhous Strains (Formerly Phaffia
rhodozyma). Food technol. Biotechnol 39 : 123-128.