ความคิดเห็นที่มีต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

กัลยรัตน์ สอาดนัก
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3) ปัจจัยการ
เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตร 4) ความคิดเห็นที่มีต่อภาระหนี้สินของเกษตรกร และ 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐาน
ส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตร ที่มีความสัมพันธ์ต่อความคิดเห็นที่มีต่อ
ภาระหนี้สินของเกษตรกรตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรตำบลศรีมงคล จำนวน
297 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่า
ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.08 ปี
สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน ระดับการศึกษาประถมศึกษา ประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย
19.79 ปี กิจกรรมหลักทางการเกษตรปลูกมันสำปะหลัง พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 24.31 ไร่ รายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย
93,841.41 บาท/ปี รายจ่ายในภาคการเกษตรเฉลี่ย 53,912.56 บาท/ปี จำนวนหนี้สินของเกษตรกรเฉลี่ย 83,564.31 บาท/ปี
เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรจากสื่อบุคคล โดยผู้นำชุมชน สื่อมวลชน จากโทรทัศน์ สื่อกิจกรรม จากการประชุม ส่วน
ใหญ่ไม่เคยรับข่าวสารจากสื่อออนไลน์ และเกษตรกรมีความคิดเห็นที่มีต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรตำบลศรีมงคล
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานนั้นพบว่า ปัจจัยพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจ และปัจจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตร มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกร ที่มีต่อ
ภาระหนี้สินของเกษตรกรตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. รายงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกร. แหล่งที่มา: http://farmer.doae.go.th/ecoplant/eco_report/
report1_regis_ap_59/71/02, 29 กันยายน 2559.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาน้ำตกไทรโยคน้อย. 2560. ปริมาณหนี้สินของเกษตรกร อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี.
นิโลบล นวลอินทร์. 2550. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับหนี้สินของเกษตรกร ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปาจรีย์ สุโขบล. 2551. กระบวนการสือ่ สารทางการเมืองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิขาการสื่อสารการเมือง, มหาวิทยาลัยเกริก.
ฤทัยรัตน์ ดวงชื่น และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการชำระหนี้ของลูกค้าเงินกู้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร สาขาจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรนิทร ์นิยมางกูร . 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. สำนักพิมพ์บุ๊คส ์ทูยู, กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์
สุกานดา กลิ่นขจร และ นรรัฐ รื่นกวี. 2556. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรจังหวัด นครราชสีมา กรณีศึกษา อ?ำเภอ
ด่านขุนทด และอำเภอโนนสูง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สำนักงานเกษตรอำเภอไทรโยค. 2559. ข้อมูลการเกษตร อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. แหล่งที่มา. http://saiyok.kanchanaburi.doae.
go.th/page/saiyok18.html , 29 กันยายน 2559.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
แหล่งที่มา: tarr.arda.or.th/static2/docs/development_plan2559.pdf, 5 ตุลาคม 2559.