ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปริญญากร จัตุพร
พัฒนา สุขประเสริฐ
วัชร ลิ้มวรรณดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จังหวัดนครปฐม
2) การให้ความเชื่อถือกับข่าวสารจากสื่อเผยแพร่ 3) เทคโนโลยีการผลิตข้าว 4) การรับรู้ และการปฏิบัติตามมาตรฐาน
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ และการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตร
ที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดนครปฐม ประชากรคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างจำนวน
397 ราย ได้จากการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย
พบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 39-50 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวน้อยกว่า 6 ปี มีพื้นที่
ปลูกมากกว่า 33 ไร่ มีรายได้ต่อพื้นที่ปลูก 7,401-7,600 บาท/ไร่ 2) การให้ความเชื่อถือกับข่าวสารจากสื่อเผยแพร่อยู่
ในระดับมาก ได้แก่ สื่อสังคม สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม ในขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับน้อย 3) พื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่
เป็นดินร่วนและอยู่ในเขตชลประทาน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวนาปรัง พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ได้แก่ กข.51 กข.
57 หรือ กข.47 โดยนิยมปลูกด้วยวิธีการหว่าน 4) เกษตรกรมีการรับรู้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยเฉลี่ย
ในระดับได้รับรู้ทั้งหมด และมีการปฏิบัติโดยเฉลี่ยในระดับได้ปฏิบัติทุกครั้ง 5) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่ แหล่ง
น้ำชลประทาน ช่วงเวลาการผลิต การให้ความเชื่อถือกับสื่อบุคคลและสื่อสังคม ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติ
ได้แก่ แหล่งน้ำชลประทาน การให้ความเชื่อถือกับสื่อกิจกรรมและสื่อบุคคล กับสภาพของดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2559. รายงานสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวปี 2559/60. กรมการข้าว. กรุงเทพฯ.
ณภัทร เตยหอม และนันทิกา สุนทรไชยกุล. 2560. ปัจจัยกำหนดการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัศัตรูพืชของชาวนาในอำเภอ
หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10(37): 21-34.
นาวินทร์ แก้วดวง, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และภรณี ต่างวิวัฒน์. 2560. การผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของ
เกษตรกรในจังหวัดหนองคาย. แก่นเกษตร, 45 (ฉบับพิเศษ 1): 1590-1596.
นัทธ์หทัย ศิริวิริยะสมบูรณ์, ธำรงค์ เมฆโหรา และทิพวรรณ ลิมังกูร. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
ของเกษตรกรในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2): 59-67.
พหล ศักดิ์คะทัศน์ และพุฒิสรรค์ เครือคา. 2560. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกทาการเกษตรแบบเคมีหรือแบบอินทรีย์ของเกษตรกร
ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 34(2): 66-77.
พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2552. การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและ
เหมาะสมสำหรับเงาะของเกษตรกร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏ์ธานี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 3(2): 109-126.
พีชณิตดา ธารานุกูล, ยุวลักษณ์ ผายดี, ศรีนวล สุราษฎร์ และ จิระ อะสุรินทร์. 2557. การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบ?ำรุงดินร่วน
เหนียวในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา. แก่นเกษตร, 42(ฉบับพิเศษ 2): 422-429.
ภาสกร นันทพานิช. 2558. การผลิตข้าวและแนวทางการพัฒนาในเขตน้ำฝนและชลประทานจังหวัดอุตรดิตถ์. แก่นเกษตร, 43(4): 643-654.
ละม่อม สุนทรชัย และประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2561. ความต้องการสารสนเทศการเกษตรผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ในจังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร 46(ฉบับพิเศษ 1): 772-778.
สาริศา ทิตยวงศ์ และจันทนา แสนสุข. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจากร้านเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร
ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2): 63-70.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2560. กระทรงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2556. มาตรฐานสินคา้ เกษตร: การปฏิบตั ิทางการเกษตรทีดี่สำหรับพืชอาหาร.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2561. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
Stevens, J. P. 1992. Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. NJ: Lawrence Erlbaum Associates. Hillsdale.
Vanichbuncha, K. 2012. Statistics for research (6 ed.). Chulalongkorn University Printing House. Bangkok.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis: Harper & Row.