ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ศิริพร หลำวรรณะ
สุพัตรา ศรีสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเศรษฐกิจ การเปิดรับข่าวสาร
และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกำหนดการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ 2) ความคิดเห็นของเกษตรกร
ต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐาน
ข้าวอินทรีย์ ตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเศรษฐกิจ และการเปิดรับข่าวสารที่แตกต่างกัน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความ
รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกำตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ จำนวน 139 ราย
เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.28 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา ประสบการณ์เฉลี่ย 4.53 ปี ขนาดพื้นที่เฉลี่ย 9.48 ไร่
แรงงานเฉลี่ย 2.65 คน รายได้จากการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 38,219 บาทรายจ่ายจากการผลิตข้าว
ตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 6,346.76 บาท มีการเปิดรับข่าวสารจากผู้นำชุมชน การอบรมและโทรทัศน์ อยู่ใน
ระดับมาก มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกำหนดการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
เกษตรกรมีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เกษตรกรที่มีปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยเศรษฐกิจ การเปิดรับข่าวสารที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์
ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกำหนดการผลิตข้าวตามมาตรฐาน
ข้าวอินทรีย์ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ที่ระดับนัยสำคัญ
ทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2557. การผลิตข้าวอินทรีย์. (Online). Available from http://www.brrd.in.th/rkb/FactSheet,
30 ตุลาคม 2559.
กรมการข้าว. 2560. เอกสารคู่มือดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2560 (1 ล้านไร่). กองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว
กรมการข้าว, กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. 2560. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร.
นัตฐวุฒิ พรมสุวรรณ. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้า
อิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรินธร เหมวัตร์. 2555. ความคิดเห็นที่มีต่อการปลูกข้าวของเกษตรกรในตำบลหนองกระเบียน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันทนา ศักดิ์เจริญ. 2552. การยอมรับการปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์ และสถิติที่ใช้. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ฐานบัณฑิต. 280 หน้า.
สุพรรณี เลขกลาง ปัญญา หมั่นเก็บ และทิพวรรณ ลิมังกูร. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจการผลิตข้าวอินทรีย์ของ
เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์. ใน รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่49: สาขาส่งเสริมการเกษตร
และคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 131-136.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9000 เล่ม 4 - 2553
เกษตรอินทรีย์ เล่ม 4 ข้าวอินทรีย์. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์