แนวทางการพัฒนาตัวบอกใบ้การใช้งานบนแหวนกลจังหวัดจันทบุรี The Development Guideline of the Functional Affordances on Chanthaburi Puzzle Ring

Main Article Content

สหรัฐ ณ น่าน
เกษมรัสมิ์ วิวิตรกุลเกษม

Abstract

               แหวนกลจังหวัดจันทบุรี คือแหวนที่เกิดจากการขัดซ้อนกันของวงแหวน 4 หรือ 8 วง เมื่อถอดแยกวงแหวนออก
จากกันจะพบว่า วงแหวนทั้งหมดยังคงคล้องกันอยู่ การถอดประกอบกลไกของแหวนกลจึงถือว่าเป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์ของ
แหวนกลจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้สวมใส่ให้ช่างใช้ด้ายมัดหรือโลหะล็อคแหวนกลติดกันด้วยเนื่องด้วยเกรงว่าจะ
ประกอบวงแหวนดังเดิมไม่ได้หากถอดกลไก ทั้งนี้เพราะกลไกของแหวนไม่สามารถสื่อสารให้ผู้สวมใส่เกิดความเข้าใจและรับรู้ได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ กำหนดแนวทางการพัฒนาตัวบอกใบ้การใช้งานบนแหวนกลจังหวัดจันทบุรีให้สามารถเข้าใจ
วิธีการถอดประกอบโดยใช้ทฤษฎีการสื่อความหมายการใช้งานของผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง
ช่างทำและผู้ใช้แหวนกลจังหวัดจันทบุรี และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาออกแบบเครื่องประดับ มหาวิทยาลัยบูรพาด้วย
แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ พบว่าการออกแบบลักษณะก้านแหวน ควรจัดตำแหน่งของก้านแหวนที่พาดเฉียงลงมาทางด้านขวา
ให้ทับซ้อนอยู่ด้านบนของก้านแหวนที่พาดเฉียงลงมาด้านซ้าย และก้านแหวนควรมีส่วนที่แนบชิดติดกัน กลไกการหมุนของก้าน
แหวนควรใช้การหมุนไปทางขวามือ (ตามเข็มนาฬิกา) การออกแบบลักษณะหัวแหวนควรออกแบบให้วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าจัดให้
อยู่ในตำแหน่งทางด้านซ้ายมือ หรือด้านบน ลักษณะการใช้สี หรือลักษณะพื้นผิวที่มีความเข้มน้อยกว่าควรจัดให้อยู่ในตำแหน่ง
ทางด้านซ้ายมือหรือด้านบน ถ้ามีการจัดเรียงสีหลายเฉดจะใช้วิธีการเรียงลำดับของสีจากอ่อนไปเข้มหรือเข้มไปอ่อน

Article Details

Section
บทความวิจัย