A Study of Utilization From Waste Reycling Process Type Ceramic Tiles To Apply For Community Product Development

Main Article Content

ภัทรพล เรืองศรี
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ประเภทกระเบื้องเซรามิกส์ และ
2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุเหลือใช้ประเภทกระเบื้องเซรามิกส์ ซึ่งวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัย
คือ เศษกระเบื้องแกรนิตโต้ (หลังเผา) โดยกรณีศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัท เคนไซ ซีรามิคส์ อินดัสตรี้ จำกัด และในการศึกษา
วิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ดังกล่าวมาทำการศึกษาและทดลองขึ้นรูปด้วยกระบวนการใช้ประโยชน์ ทั้งหมด
3 กระบวนการ โดยใช้หลักทฤษฎีวัสดุเชิงวิศวกรรมในส่วนของวัสดุเซรามิกส์คอมโพสิต ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยกระบวนการใช้
ประโยชน์ พบว่า กระบวนการใช้ประโยชน์ที่สามารถนำเศษกระเบื้องแกรนิตโต้ (หลังเผา) มาพัฒนาเป็นวัสดุประเภทเซรามิกส์คอม
โพสิตได้อย่างเหมาะสม มีคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ได้แก่ กระบวนการใช้ประโยชน์ กระบวนการที่ 3
โดยเป็นกระบวนการขึ้นรูปเซรามิกส์พรุนด้วยวิธีการอัดแบบ โดยสูตรที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ สูตร PCB5 (อัตราส่วนวัสดุ
เหลือใช้ : ปูนซีเมนต์ : น้ำบริสุทธิ์ เท่ากับร้อยละ 50:50:15) มีค่ากำลังรับแรงอัดอยู่ที่ 78.07 เมกะปาสคาล ซึ่งจากผลการประเมิน
จากผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ทั้ง 3 ท่าน พบว่า กระบวนการใช้ประโยชน์ กระบวนการที่ 3 อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมมาก
ที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.56, S.D. = 0.41) และจากผลการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกระบวนการใช้
ประโยชน์ กระบวนการที่ 3 พบว่า ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก
ประสานปูพื้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีความแข็งแรง ทนทาน สามารถทนต่อการเสียดสี และการกระแทกได้ดีขึ้น รวมถึงมีความ
พรุนตัวสูง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์มีน้ำหนักน้อยกว่าผลิตภัณฑ์เดิมอย่างชัดเจน
และในส่วนของการศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์และผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ พบว่า ผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก
ประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ สามารถช่วยลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ประเภทเศษกระเบื้องแกรนิตโต้ (หลังเผา) ได้อย่าง
เหมาะสมและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น คือ จากปริมาณ 57.25 ตัน (ต่อเดือน) ให้คงเหลือประมาณ 48.60 ตัน (ต่อเดือน) สามารถลดได้
ประมาณ 8.65 ตัน (ต่อเดือน) และสามารถช่วยลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิกส์โดยรวม จากมีปริมาณ
158.25 ตัน (ต่อเดือน) ให้คงเหลือประมาณ 149.60 ตัน (ต่อเดือน) เพราะฉะนั้นกระบวนการใช้ประโยชน์ กระบวนการที่ 3 ที่มี
เศษกระเบื้องแกรนิตโต้ (หลังเผา) เป็นวัสดุหลัก สามารถช่วยลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ประเภทกระเบื้องเซรามิกส์ได้ รวมถึงสามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นให้มีคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติ
เชิงกลที่ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). ระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

กวี หวังนิเวศน์กุล. (2558). วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รุ่งแสงการพิมพ์.

เฉลิม สุจริต. (2543). วัสดุและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2528.) มาตรฐานเลขที่ มอก. 566-2528 มวลผสมคอนกรีต. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2531). มาตรฐานเลขที่ มอก. 827-2531 คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2532). มาตรฐานเลขที่ มอก.15 เล่ม 12-2532
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (เล่ม 12 วิธีทดสอบความต้านแรงอัดของมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก). กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2559 และแนวโน้มปี 2560. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). คู่มือ 3Rs กับการจัดการของเสียภายในโรงงาน ปี 2. กรุงเทพฯ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2556). หลักเกณฑ์คุณสมบัติของเสียที่เหมาะสม ในการนำมาใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำเริง รักซ้อน. (2557). ทฤษฎีและการทดสอบคอนกรีตเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : แองเกิ้ลออฟไซ.

อำพล วงศ์ษา และวันชัย สะตะ. (2556). การใช้เศษวัสดุเป็นส่วนผสมในคอนกรีตพรุน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.