การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา กลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

รพีพัฒน์ มั่นพรม
นิรัช สุดสังข์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา ของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา ของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ และเพื่อประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา ของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 5 ท่าน โดยสอบถามความพึงพอใจด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา ให้ได้รูปแบบใหม่ เพื่อนำไปใช้ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาความพึงพอใจด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผานั้น พบว่าผู้เชี่ยวชาญพึงพอใจรูปแบบที่เป็นป้ายแขวนหน้าห้อง ที่มีรูปแบบของป้ายสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ปลาเสือตอ อุทยานสวรรค์ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร และพิพิธภัณฑ์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงบอระเพ็ด ซึ่งแต่ละรูปแบบจัดทำทั้งแบบที่เป็นสีดินเผาธรรมชาติ และแบบที่ตกแต่งสีเลียนแบบของจริง นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มาสร้างเครื่องมือเพื่อใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เปรียบเทียบรูปแบบใหม่กับรูปแบบเดิม การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ Two-Way ANOVA by Non-parametric การวิเคราะห์ความแปรปรวน จำแนกสองทางแบบนอนพาราเมตริก การทดสอบแบบฟรีดแมน เพื่อสรุปผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และใช้ Pair simple t-test วิเคราะห์ข้อมูล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และสรุปผลระหว่างรูปแบบใหม่กับรูปแบบเดิมจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในรูปแบบใหม่มีระดับความพึงพอใจมากกว่ารูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา เป็นป้ายแขวนที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ 4 รูปแบบ


The Development of design product for Terra-Cotta Souvenir from Baan Mon Pottery and Craft Group, Tambon BaanKaeng, Ampur Muang, Nakhon-Sawan Province

The objective of this research were to investigate, develop and conduct customers’ satisfaction surveys on the souvenir products made from Terra-Cotta at Baan Mon Pottery and Craft Group, Tambon BaanKaeng, Ampur Muang, Nakhon-Sawan Province. Three sample groups from producers, distributors and Baan Mon’s clay souvenirs consumers were chosen in this study with the sample size of 30 people. The research tools included a questionnaire to ask five design experts to evaluate their satisfaction on the new design and development of clay souvenir products in order to test with the selected sample groups. From the questionnaire results, it was found that the experts were satisfied with clay-made room hangers decorated with different designs that signify Nakhon-Sawan’s famous symbols as Siam tiger fish, Nakhon-Sawan Heaven Park, White-eyed River-Matin, and Bueng Boraphet Museum. Each design was made both in natural Terra Cotta and authentic colours. After that, the assessment results from the experts were used to create another research survey that was conducted on the sample groups to compare the new designs with original counterparts. This survey was analysed by applying descriptive statistics and testing the research hypothesis by Two-Way ANOVA with non-parametric tests and the Friedman two-way analysis of variance to evaluate the experts’ satisfaction and using the Pair simple t-test for the sample group to compare the new and old designs. According to the results, it can be concluded that the satisfaction on the new design was greater than the original ones P<0.05 significant level. Finally, the research was achieved successfully by developing Terra Cotta room hangers with four of Nakhon-Sawan’s significant symbols.

Article Details

Section
บทความวิจัย