การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อประยุกต์ใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริม พัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น, The adoption of the philosophy of sufficiency economy in designing learning toys for early elementary children

Main Article Content

กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์
นิติ นิมะลา
อโณทัย สิงห์คำ

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่เด็ก
ประถมศึกษาตอนต้น โดยใช้ผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้ 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของวิธีการออกแบบและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้ 3) เพื่อเป็นต้นแบบของวิธีการสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้จากหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจพอเพียงและผู้เชี่ยวชาญด้าน
พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก จำนวน 5 ท่าน แบบสัมภาษณ์ให้ได้มาซึ่งวิธีการและแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริม
พัฒนาการเรียนรู้ แล้วประเมินรูปแบบการออกแบบ โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน แบบประเมินความ
เหมาะสมในการออกแบบของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้วประเมินผลโดยครูผู้สอนและเด็กประถมศึกษา
ตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนภาครัฐบาล และโรงเรียนภาคเอกชนในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า เนื้อ
เรื่องที่เหมาะสมกับเด็กประถมศึกษามากที่สุดคือ เรื่องความพอเพียง การประหยัดอดออม ควรคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิตควร
เป็นวัสดุพื้นถิ่น วัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล การเล่นควรสามารถเล่นเป็นกลุ่มได้ 2-3 คน รูปแบบของเล่นควรส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์และฝึกแก้ปัญหา เสริมสร้างจินตนาการ สติปัญญาและสังคม การออกแบบคำนึงถึงรูปแบบ รูปทรงให้มีความน่าสนใจ
สีสันดึงดูด และความปลอดภัยเป็นสำคัญ ผลการประเมินต้นแบบสรุปได้ดังนี้ ความปลอดภัยของต้นแบบ รูปแบบและความ
คงทนมีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องวัสดุที่ใช้ในการผลิต และด้านการเรียนรู้ ความเหมาะสม เรื่อง กา
รอดออม เป็นสื่อการสอนในวิชาสังคมที่ดีมาก ช่วยส่งเสริมจินตนาการด้านสังคม ปลูกฝังให้เด็กเข้าใจในเรื่องการอดออมมาก
ยิ่งขึ้นและเป็นสื่อประกอบการสอนแบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง นำความรู้ที่ได้จากเกมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

The objectives of this research are 1) Find the method to adopt the philosophy of sufficiency
economy onto early elementary school children’s learning using toys for learning enhancement. 2)
Determine the effectiveness of the design method of toy’s product development and also design that
learning toys. 3) Create a methodology model for transferring knowledge of philosophy of sufficiency
economy in the form of toy to assist developmental learning for early elementary school children. The
samples used in this research are 5 samples consisting of scholars on sufficiency economy and experts on
learning behaviors of children. The samples are interviewed in-depth as to acquire the proper way to adopt
the philosophy of sufficiency economy onto early elementary school children, as well as to know guidelines 

and requirements and learning toys design. After that, there is an evaluation on design patterns conducting
by 3 designing experts in order to justify the properness of the learning toys designing. Then, a toy
prototyping is taken to evaluated by the teacher and early elementary children from a case study of
government schools in Muang District, Udon Thani province, as well as private schools in Muang District,
Udon Thani province. The research results show that : Learning and feeling faithful in this philosophy; For
elementary school children is about sufficiency, conservation and savings. The materials used in production
as it should be vernacular materials, natural materials, and recyclable materials, The playing should be
able to be participated by 2-3 people, and the toy model should encourage creativity, problem-solving skill,
imagination, intellectual and social skills. The designing of learning toys for early elementary children should
focus on the form, it should be in interesting form, attractive, colorful, and safe. The transfer of knowledge
of the philosophy of sufficiency economy in the form of toy product developing learning for early
elementary school children; on the prototype evaluation reviewed by early elementary school teachers
(Grade 1 - 3) from government schools and private schools can be summarized as firstly, the security, style
and durability, gets averagely most agreement, followed by the materials used in production, and about
learning. The appropriateness of learning toy on savings concept; it helps teach social study, helps promote
the social imagination, helps children understand about savings, it is media for teaching that makes the
children the center of learning. Children are able to apply the knowledge gained from the game onto their
everyday life.

Article Details

Section
บทความวิจัย