การออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลอง ตามทฤษฎีเครื่องล่อใจ, DESIGN OF SIMULATION THAI FOLK GAME UPON INCENTIVE THEORY

Main Article Content

ทิพย์สุคนธ์ เพชรโอภาส
บุญชู บุญลิขิตศิริ

Abstract

การละเล่นพื้นบ้านถือเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการดำเนิน
ชีวิตและสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ ปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ มากมายเริ่มเลือนหายไปตามยุคสมัย ค่านิยม ความเป็นอยู่ที่
มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต การละเล่นพื้นบ้านไทยนั้นมีไว้เพื่อแสดงตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เด็กยุคใหม่ในปัจจุบันบางคน
ไม่รู้จักการละเล่นพื้นบ้านไทย จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการเล่นของเด็กไทยที่มีการเล่นกับกลุ่มเพื่อนมีการเปลี่ยนแปลง
เป็นการเล่นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าเกมคอมพิวเตอร์คือสื่อที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์
และช่วยการกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านไทยได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเกมการละเล่น
พื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลองตามทฤษฎีเครื่องล่อใจ ที่สามารถสร้างความน่าสนใจสำหรับเด็กและศึกษาความพึง
พอใจในการเล่นเกมการละเล่นพื้นบ้านไทย ในรูปแบบสถานการณ์จำลอง โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1)
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกที่เน้นประเด็นเรื่องการออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบ
สถานการณ์จำลอง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบเกม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ 2) ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำเกมที่ได้ออกแบบไปทดลองกับ
กลุ่มตัวอย่าง โดยมีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจและสังเกตพฤติกรรม ผู้วิจัยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เชื่อมโยงสู่ข้อสรุปของการทดลอง ผู้วิจัยจึงมุ่งออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านในรูปแบบสถานการณ์จำลองตามทฤษฎีเครื่องล่อ
ใจ ด้วยการจำลองสถานการณ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านไทยในงานวัดโดยใช้กราฟิกลักษณะไทยร่วมสมัย เน้นการใช้
สีสันที่สดใส ตัวละครเป็นรูปแบบตัวการ์ตูน 2 มิติ ซึ่งพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยใน
รูปแบบสถานการณ์จำลองในระดับมากในทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้เล่นมีความพึงพอใจในด้านภาพและสีเป็นลำดับ
ที่ 1 ( X= 4.18, SD = 0.05) ลำดับที่ 2 คือ ด้านรูปแบบเกมและการควบคุม ( X= 4.14, SD=0.12) ลำดับที่3 คือ ด้านเนื้อหา
( X= 4.08, SD=0.01) ลำดับสุดท้าย คือรูปแบบตัวอักษร ( X=4.02, SD=0.31) และด้านสัญรูปหรือปุ่ม ( X=4.02, SD=0.01)
ตามลำดับ

 

Thai Fork Game that is unique to each region. Which are closely associated with the life and the
environment is important. Nowadays many Thai Fork Game began to disappear with age and values being
changed from the past. Currently, there are Thai Fork Game in Thailand show the various attractions. In the
persont, the modern Thai Fork Game. The children behaviors has to play with a group of friends has
changed. The played over the internet through play computer games. The researcher recognizes that
computer games are a medium that can interact and help to simulate interest in Thai Folk Game. 

This research aims to study the theory of distraction (Incentive Theory) and analytical approach to
game design. Thai Folk Game design for use in Thailand, in the form of scenarios. That can be interesting for
children and to study sat is faction of Thai Folk Game in situation model . The method of data collection is
divided into two types.1) Qualitative Research. researchers have used depth interviews focused on issues of
game design Traditional Children’s Games in the form of scenarios. From experts in the field of game design.
Using interviews The study, the researchers conducted analysis of the data has been to bring a conclusion
to the design guidelines. 2) Quantitative Research. approach The game was designed to test the samples.
The survey and interview data from a sample aged 9-10 years, received data will be statistically analyzed to
conclude the trail.The result found that the samples have overall satisfaction for Thai Folk Game in
situation model The means of satisfaction levels. It found the factor that, First, Picture and color factor ( X =
4.18, SD = 0.05) second, same form & control factor ( X= 4.14, SD=0.12).Third, Content factor (X= 4.08,
SD=0.01). Next, front factor ( X=4.02, SD=0.31 and semiotics or button factor ( X=4.02, SD=0.01)

Article Details

Section
บทความวิจัย