การออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้านจังหวัดมหาสารคาม, Graphic Design for Development of local textile products of Mahasarakham Province

Main Article Content

วิชนาถ ทิวะสิงห์

Abstract

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์กลุ่มผ้าทอพื้นบ้านของจังหวัดมหาสารคาม โดยมีกรณีศึกษาคือกลุ่ม
ทอผ้าบ้านหนองแคน หมู่ 4 ตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อส่งเสริมการขายให้กับผลิตภัณฑ์กลุ่มผ้าทอพื้นบ้าน
ของจังหวัดมหาสารคามและเพื่อออกแบบตราสินค้า (Logo) และบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้านของจังหวัด
มหาสารคาม โดยให้นิสิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน สาขานฤมิตศิลป์ วิชาเอกออกแบบกราฟิก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ
นฤมิตศิลป์ ได้ทำการออกแบบตราสินค้าจำนวน 15 รูปแบบ และออกแบบบรรจุภัณฑ์จำนวน 15 รูปแบบ โดยสอบถามความพึงพอใจ
ของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คนในจังหวัดมหาสารคามและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่รูปแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์
ประกอบกับแบบสอบถามการรับรู้ด้านความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบกราฟิกตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ จำนวน 2 ชุด ได้แก่
แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบตราสินค้า 15 รูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจของ
กลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ 15 รูปแบบ สรุปผลการวิจัยการรับรู้ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่ต่อสินค้า (Logo)
พบว่าตราสินค้าที่เป็นที่ชื่นชอบคือรูปแบบที่ 1 โดยกลุ่มเป้าหมายชื่นชอบทุกประเด็นมีค่าเฉลี่ย X=3.78 ซึ่งสูงที่สุดจาก 15 รูปแบบ
สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบที่ 13 เป็นที่ชื่นชอบที่สุดมีค่าเฉลี่ย X= 3.71

 

This research aimed to raise a product brand for cloth weaving commodities in Mahasarakham
province, using the case study of Baannongkaen, village 4th, Lao sub-district, Kosumpisai district in order to
promote the sale and marketing strategy, create logos and packaging design for products of the commodities.
15 logo patterns and packaging design models were designed by 15 students, who are third-year students in the
major of graphic design, Department of Creative Arts, Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts.
The target samples were collected from 200 people in the Mahasarakham province. The research tool was a
questionnaire which was separated into 2 parts: one was for 15 logo designs and the other was for 15 packaging
design patterns. The results of this research found that the most satisfaction of the samples towards the
designed logos was the 1st logo with X=3.78, and the 13th style of the packaging design pattern was the most
desired with X= 3.71.

Article Details

Section
บทความวิจัย