การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สาหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

ประชิด ทิณบุตร
ธีระชัย สุขสวัสดิ์
อดิสรณ์ สมนึกแท่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สาหรับสินค้าด้านสุขภาพและความงาม ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตจังหวัดชัยนาท ให้สามารถดาเนินการผลิต บรรจุและจัดจาหน่ายในท้องตลาดได้จริง และ 2) เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากร ที่มีต่อผลงานการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้า ที่ได้พัฒนาขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการศึกษาวิจัยแบบพัฒนาทดลองตามหลักการและกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ และการวิจัยแบบมีส่วนร่วมจานวน 8 ราย โดยมีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ จากตัวแทนของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา/นักวิจัย นักวิชาการพัฒนาชุมชน/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ นักออกแบบกราฟิกอัตลักษณ์/นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ และตัวแทนของกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกและการเลือกแบบบังเอิญ รวมจานวนทั้งสิ้น 104 คน เก็บรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการนาเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อย การสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงาม ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้ง 8 ราย มีภาพรวมด้านมาตรฐานอัตลักษณ์ คุณภาพการออกแบบตราสัญลักษณ์ ด้านมาตรฐานและคุณภาพการออกแบบรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ และภาพรวมของการสื่อการรับรู้ที่เชื่อมโยงถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาท โดยใช้อัตลักษณ์จังหวัดชัยนาทเป็นสื่อสร้างสรรค์คือ วัด นก เขื่อน มาเป็นส่วนประกอบร่วมนั้น เป็นผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ที่มีค่าความคิดเห็นต่อภาพรวมผลงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70,SD=0.52 )

 

The aims of this research were 1) to design and development the product and pakage standard brand of herbal spa and wellness products for a community enterprise group in the Chai Nat province, and continue production packaging and distribution in the existing market, and 2) to evaluate the standard quality and efficiency opinion of the new branding and packaging design development that connect to cultural tourism of herbal spa and wellness products from the community enterprise groups. This experimental design and community development process based on participatory action research (PAR) takes place in Chai Nat with a corporation and participation from 8 selected groups, which evaluate the standard and quality effectiveness of the new Branding and Packaging design set by experts from five different sectors. These include entrepreneur/marketing, scholar/advisor/researcher, social worker/government agent/government institute, professional product designer and regular consumer, chosen by a simple random sample method in total of 104 samples. The final designs are presented to a small group of people before collecting the evaluating questionnaires and opinions using a focus group method. The evaluation is done through both online questionnaires and in person. The descriptive statistics used in this experimental research include percents, mean, and standard deviation.The results found that the overall design of new branding and packages have a brand identity attribute, packaging form, and Chai Nat tourism linkage design elements with herbal spa and wellness products of community enterprise groups to be able to continue production packaging and distribution in the existing market as well as strengthen market perception and competitiveness. According to the selected groups of expert opinion, the evaluation results in a mean of 4.70, S.D. 0.52 for all the entire groups that involved in this research.

Article Details

Section
บทความวิจัย