การศึกษาเอกลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้ง อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ

Main Article Content

จิราพร รอดคุ้ม
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา
อุดมศักดิ์ สาริบุตร

Abstract

ในปัจจุบันการออกแบบเครื่องประดับให้เป็นเอกลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับของประเทศไทยเป็น
อย่างมากด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับด้วยวิธีการนำเสนอเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่นให้
ปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด โดยนำเสนอในรูปแบบของเครื่องประดับที่สามารถสื่อสารได้ในรูปแบบที่เป็นสากล ในการวิจัยครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้ง โดยเลือกศึกษาจากพื้นที่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากกลุ่มชาวบ้านบ้านป่าคาใหม่ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง เพื่อการออกแบบเครื่องประดับและเพื่อประเมินความพึง
พอใจของ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิต และผู้บริโภค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และ
แบบสอบถาม เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ชนเผ่าที่มีความโดดเด่นในเรื่องงานหัตถกรรมมากที่สุดคือชนเผ่าม้ง
และความเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของชาวเขาเผ่าม้ง คือ ลวดลายที่ใช้ปักลงบนเสื้อผ้า โดยการประเมินหาเอกลักษณ์จาก
ผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าลายก้นหอยที่มีลักษณะลวดลายที่เกิดจากเส้นตามธรรมชาติของสัตว์น้ำที่เกิดจากเส้นการวนของเปลือกหอยมี
ความเป็นเอกลักษณ์มากที่สุด รูปแบบของเครื่องประดับควรออกแบบให้มีความเรียบง่ายแต่ยังคงความเป็นเครื่องเงินชาวเขาไว้
สามารถสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวันได้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบเครื่องประดับชาวเขาออกแบบโดยการนำเอา
จุดเด่นของรูปทรงของเครื่องประดับแบบดั้งเดิมไว้ แต่ออกแบบขึ้นมาใหม่ให้ดูทันสมัยมากขึ้น ผลการประเมินการออกแบบชุด
เครื่องประดับจากเอกลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้ง อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ผู้วิจัยได้รวบรวมสรุปข้อมูลนำมาสร้างแบบร่างโดยใช้
แนวความคิดจากลวดลายก้นหอย จำนวน 30 รูปแบบ และใช้ทฤษฎีวิศวกรรมย้อนรอยในการตัดทอนรูปแบบชุดเครื่องประดับให้
เหลือจำนวน 5 รูปแบบ นำไปเขียนโปรแกรม 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รูปแบบเครื่องประดับมีความสมจริงมากที่สุด นำไป
ประเมินแบบโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยผลการประเมินรูปแบบพบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด

 

Nowadays, unique jewelry design is indeed significant to Thailand’s jewelry industry. Jewelry design
with local uniqueness thus is very important to present it with international design. The objective of this
research is to examine uniqueness of Hmong people in Phop Phra District, Tak province by compiling data
from villagers in Baan Pakamai, specialists and professions as a base for jewelry design as well as to evaluate
satisfaction of professions, manufacturers and consumers. Moreover, the tools used for compiling data are
interview, evaluation, and questionnaire. The findings indicate that Hmong people have most outstanding
handicraft skills among hill tribe people. The most distinct uniqueness is patterns stitched on their clothes.
According to professions, spiral pattern derived from natural lines of shells is most unique. As a result, the
jewelry design should keep simplicity yet silverware of Hmong people. It is wearable in daily life as a new
option for customers who love hill tribe jewelry. The design should keep uniqueness of shape of original 

jewelry but reflect contemporary at the same time. For the evaluation results for jewelry design inspired by
uniqueness of Hmong people in Phop Phra District,Tak Province, data is compiled to draft 30 designs inspired
by spiral pattern concept.Consequently, reverse engineering is applied to reduce to 5 designs and then
computer three-dimension program is used to make most realistic designs.The designs are eventually
assessed by professions.The results show that the first design is most appropriate

Article Details

Section
บทความวิจัย