การออกแบบของที่ระลึกสำหรับพิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด จ.จันทบุรี SOUVENIR DESIGNING FOR THE HISTORIC PANEAD MUSEUM IN CHANTHABURI PROVINCE

Main Article Content

พรพจน์ หมื่นหาญ
สิริวิภา วิมุกตายน
เข็มชาติ เชยชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลวดลายจากโบราณสถานเมืองเพนียด จ.จันทบุรี  2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับพิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด จ.จันทบุรี โดยมีการลำดับขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ถามผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จังหวัดจันทบุรีและโบราณสถาน จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่กำหนดประเด็นการสัมภาษณ์ 2) สอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ  และพัฒนางานผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ทำการประเมินการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาพจำลองการออกแบบประกอบกับแบบสอบถามการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  ผลการวิจัย พบว่าจากการศึกษาลวดลายจากโบราณสถานเมืองเพนียด จ.จันทบุรี ลวดลายที่เป็นจุดเด่นและเก่าแก่ที่สุด ที่ปรากฏบนทับหลังศิลปะแบบถาลาบริวัติ พ.ศ.1150 เช่น ตัวมกร ครุฑยุดนาค ลายพวงมาลัยสลับกับลายพวงอุบะ สามารถนำมาใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการออกแบบ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกจำนวน 3 กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ คือ นาฬิกาแขวนผนัง กล่องใส่ของขนาดเล็ก และพวงกุญแจ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เหมาะสมกับกรรมวิธีการผลิต ในการออกแบบนาฬิกาแขวนผนัง สรุปได้ว่าภาพตัวอย่างรูปแบบ A มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย (= 4.66, S.D. = 0.51) ในด้านความสวยงาม (= 4.00, S.D.= 0.70) ในด้านประโยชน์ใช้สอย (= 4.66, S.D.= 0.51) ในด้านกรรมวิธีการผลิต และ (= 4.66, S.D.= 0.57) ในด้านเอกลักษณ์เฉพาะ ในการออกแบบอุปกรณ์ใส่เครื่องเขียน สรุปได้ว่าภาพตัวอย่างรูปแบบ C มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  (= 4.83, S.D.= 0.40) ในด้านความสวยงาม (= 4.66, S.D.= 0.50) ในด้านประโยชน์ใช้สอย (= 4.83, S.D.= 0.40) ในด้านกรรมวิธีการผลิต และ (= 4.33, S.D.= 0.57) ในด้านเอกลักษณ์เฉพาะ ในการออกแบบพวงกุญแจทั้ง 3 รูปแบบ  สรุปได้ว่าภาพตัวอย่างรูปแบบ A มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  ( = 4.66, S.D.= 0.81) ในด้านความสวยงาม (= 4.22, S.D.= 0.66)  ในด้านประโยชน์ใช้สอย (= 4.66, S.D.= 0.51) ในด้านกรรมวิธีการผลิต และ (= 4.66, S.D.= 0.57) ในด้านเอกลักษณ์เฉพาะ

The objectives of this research were to investigate the design from the Historic Panead Museum in Chanthaburi Province, and to design souvenirs for the Historic Panead Museum in Chanthaburi Province. This research was studied and collected information by structured interview with three history experts in Chanthaburi province and historic sites while three product design and development experts evaluated souvenir designs and conveyed their opinions and suggestions. The instruments for the evaluation were the design models and a questionnaire. The data from the questionnaire survey were analyzed by mean and standard deviation. The results showed that the design from the Historic Panead Museum in Chanthaburi Province was the most historical and distinctive design which appears on Tap Lang ThalaBoriwat art period 1150 B.E. such as Magara, KrutYut Naga and the styles of garland. These arts can create the unique souvenir designs. The researchers have developed these unique designs into three products which were the products of a clock, a small box and a key chain. From related researches, it can be noted that every designs should be suitable with the production process. As the statistical results, for the clock design, it found that the product model A had an overall average at the most level which classified as follows; the beautiful part was (= 4.66, S.D.= 0.51), the useful part was ( = 4.00, S.D.= 0.70,) the production process part was (  = 4.66, S.D.= 0.51) and the unique design was ( = 4.66, S.D.= 0.57), While the small box design indicated that the product model C had an overall average at the most level which classified as follows; the beautiful part was (= 4.83, S.D.= 0.40), the useful part was ( = 4.66, S.D.= 0.50), the production process part was( = 4.83, S.D.= 0.40) and the unique design was ( = 4.33, S.D. = 0.57). When considering at the key chain design, it found that the product model A had an overall average at the most level which classified as follows; the beautiful part was( = 4.66, S.D.= 0.81), the useful part was( = 4.22, S.D.= 0.66), the production process part was( = 4.66, S.D.= 0.51) and the unique design was ( = 4.66, S.D. = 0.57.)

Article Details

Section
บทความวิจัย