การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าว จากวัสดุท้องถิ่นประเภทกระดาษและเชือกกล้วย สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตะเคียนงาม จังหวัดกำแพงเพชร Design and development of rice packaging from local materials such as paper and banana fiber for community enterprise :

Main Article Content

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์
ณัฐธิกานต์ ปิ่นจุไร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบรรจุภัณฑ์ข้าว จากวัสดุท้องถิ่นประเภทกระดาษและเชือกกล้วย สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตะเคียนงาม จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ข้าว จากวัสดุท้องถิ่นประเภทกระดาษและเชือกกล้วย ให้เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตะเคียนงาม จังหวัดกำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตะเคียนงาม จังหวัดกำแพงเพชร และกลุ่มผู้บริโภค ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ข้าว จากวัสดุท้องถิ่นประเภทกระดาษและเชือกกล้วย พบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตะเคียนงาม มีความเห็นสอดคล้องว่าควรมีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้วัสดุท้องถิ่นประเภทกระดาษกล้วย และเชือกกล้วย เพื่อสื่อถึงความเป็นจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีชื่อเสียงในด้านของกล้วยไข่ และทำให้ผลิตภัณฑ์บ่งบอกถึงความเป็นผลิตภัณฑ์จังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย โดยให้ใช้วัสดุภายในพื้นที่จังหวัด ได้แก่ กลุ่มเชือกกล้วยฟั่น และกลุ่มกระดาษต้นกล้วยและเส้นใยพืชบ้านเทพนครภายในจังหวัดกำแพงเพชร ในการใช้วัสดุ ในด้านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า น้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ที่นิยมซื้อไปรับประทานเองที่บ้าน มีปริมาณพอเหมาะ ยังมีความนิยมในการซื้อเป็นของฝากอยู่มาก ด้านลวดลายของการถักเชือกกล้วยเพื่อใช้ในงานบรรจุภัณฑ์มีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรใช้ลวดลายดอกพิกุล เนื่องจากเป็นลวดลายที่แสดงออกถึงดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวจากวัสดุท้องถิ่นประเภทกระดาษและเชือกกล้วยในรูปแบบกระเช้าหูหิ้วจากเชือกกล้วย เป็นบรรจุภัณฑ์ลักษณะของกระเช้าจากเชือกกล้วยถัก และใช้กระดาษกล้วยในลักษณะของฉลากป้ายแขวน พบว่าบรรจุภัณฑ์ต้นแบบลักษณะนี้ เป็นการใช้วัสดุเชือกกล้วยอย่างสิ้นเปลือง ทั้งในด้านวัสดุ เวลาในการผลิต และกำลังคน ซึ่งทำให้บรรจุภัณฑ์ลักษณะนี้ไม่สอดคล้องกับการผลิตเท่าที่ควร จึงมีการพัฒนารูปแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้บรรจุภัณฑ์สามารถใช้เชือกกล้วยได้ในปริมาณที่น้อยลง ใช้เชือกกล้วยเส้นที่เล็กลง และใช้วัสดุกระดาษกล้วยในลักษณะของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์มากขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงพื้นผิวของกระดาษกล้วยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ โดยออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุพื้นถิ่นอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนได้ข้อสรุปทั้งหมด 3 รูปแบบ จากการสนทนากลุ่ม กลุ่มศูนย์ข้าวตะเคียนงามในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พบว่ามีความเห็นสอดคล้องให้ใช้บรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 รูปแบบในการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์แต่ละรูปแบบมีความโดดเด่นแตกต่างกัน ในด้านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ พบว่า บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อเทียบกับรูปแบบที่ 1 และ 2 เนื่องจากวัสดุเชือกกล้วยถัก เป็นวัสดุที่ต้องใช้เวลาและความประณีตในการทำเป็นบรรจุภัณฑ์ การถักสานบรรจุภัณฑ์เป็นโครงสร้างของกระเช้า หรือตะกร้า จะทำให้สิ้นเปลืองวัสดุและระยะเวลาในการผลิต รวมถึงกำลังคนในการถักสาน จึงไม่สอดคล้องในการผลิตเป็นจำนวนมาก ในบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 ได้มุ่งเน้นเชือกกล้วยในการเป็นโครงสร้างหูหิ้ว และเป็นเพียงลวดลายประดับด้านข้างบรรจุภัณฑ์เท่านั้น ซึ่งได้ใช้ลวดลายดอกพิกุลตามข้อสรุปของกลุ่มศูนย์ข้าวตะเคียนงาม เพื่อแสดงถึงความเป็นผลิตภัณฑ์จากจังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนั้นลักษณะการหิ้วของบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 ยังมีความเหมาะสมสะดวกสบายตามประโยชน์ใช้สอยมากว่ารูปแบบที่ 1 และ 2 เนื่องจากเป็นหูหิ้วที่ล็อคด้วยกระดาษกล้วยด้านบน ไม่ให้หูหิ้วพับตกมาด้านข้าง และเป็นรูปแบบที่ใช้วัสดุทั้งเชือกกล้วยและกระดาษกล้วยได้อย่างลงตัว ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มศูนย์ข้าวตะเคียนงาม และกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์จากวัสดุพื้นถิ่น ประเภทกระดาษและเชือกกล้วย ตามกรอบแนวคิดด้านการตลาด 4P พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ตามผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ข้าวของกลุ่มศูนย์ข้าวตะเคียนงามในอนาคต

The objectives of this research are 1) To study rice packaging from local materials, like paper and rope from banana sheath for member of community enterprise Takien-Ngarm Rice center 2) To development of rice packaging from local materials, like paper and rope from banana sheath. To be suitable for member of community enterprise Takien-Ngarm Rice center 3) To assess satisfaction from  member of community enterprise Takien-Ngarm Rice center and consumer with rice packaging made from local materials, like paper and rope from banana sheath. The research found that member of community enterprise Takien-Ngarm Rice center agreed to develop packaging by using local materials like paper and rope from banana sheath to represent the fame of Kamphaeng Phet provincial products. As for the participatory design, the group agreed on rectangular plastic bag weighing one kilogram of white rice was the most suitable in terms of household supplies and souvenirs. For the design of the package, the group decided to use the flower wood pattern or Pikul flower pattern which is the flower of Kampheang Phet. To make the package used less and smaller line of the developed rope and used the banana paper more as a structure of the basket to show more of the surface of the paper which has a unique characteristics and reduced the cost, the group came up with 3 difference design of packages.From the discussion with Takien-Ngram Rice Center, the group agreed to use all 3 packages to be evaluated by the design expert because each packages had a difference distinction. The evaluation found that the 3rd package was the most suitable package compared to the 1st and 2nd. The 1st and 2nd packages, by using banana weaving ropes to make a hold basket took too much time and too much people so it was not suitable to make it as a mass production. Unlike the 3rd package which used the banana weaving rope only as handle and design beside the basket made it more suitable and more comfortable for use. The study found both the consumer and producer’s satisfaction,according to 4P marketing framework, at the level of very satisfied. More development on packaging was also recommended toฃ promote the community enterprise to a broader volume.

Article Details

Section
บทความวิจัย