การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย บ้านนาขุม จังหวัดพิษณุโลก Design of Identitty on the Packages for the Community Enterprise: Case Study of Thai Herbal Hair Nourishment Products of Ban Nakhu

Main Article Content

เจนยุทธ ศรีหิรัญ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย 2) เพื่อออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย และ3) เพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทยที่ผู้วิจัยออกแบบขึ้นใหม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 104 คน ร่วมกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า แชมพูและครีมนวดผมสมุนไพรในแต่ละสูตรยังไม่มีบรรจุภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายที่เหมาะสม จึงได้ดำเนินการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยโครงสร้างเป็นขวดพลาสติกใสทำจากวัสดุพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ฝาปิดเป็นแบบหัวปั้ม ขนาดบรรจุ 250 มิลลิลิตร แนวคิดในการออกแบบลวดลายกราฟิกได้มาจากผ้าทอลายดอกปีบซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดพิษณุโลก โดยนำลวดลายนี้มาออกแบบใหม่ให้เป็นพื้นหลังของฉลาก และใช้ดอกปีบซึ่งเป็นดอกไม้ของต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลกมาผสมผสานกับภาพประกอบที่แสดงถึงส่วนผสมหลักของสมุนไพรที่อยู่ในแชมพูและครีมนวดผม โดยออกแบบให้ดูทันสมัยและบ่งบอกความเป็นตัวตนของจังหวัดพิษณุโลก การใช้สีสันของหัวปั้ม พื้นหลังและตัวอักษรต้องการสื่อถึงผลิตภัณฑ์ ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับมาก (=4.04) (S.D=0.75) และผลของการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับมาก(=4.07) (S.D=0.74) งานวิจัยครั้งต่อไปควรมีการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้มีรูปทรงที่มีอัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับการออกแบบหัวปั้มใหม่ให้มีความสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น

The objectives of this research are 1) to study the problems and demands in designing the packages of Thai herbal hair nourishment products, 2) to design the identity on the packages of Thai herbal hair nourishment products, and 3) to assess the recognition and satisfaction of the manufacturers, groups of consumers, and groups of experts in the packages on the design of packages of Thai herbal hair nourishment products which are newly designed by the researcher. The sample groups are 104 persons together with the research tools including unstructured interviews and questionnaires. In analyzing the data, the percentage, mean, and standard deviations are used. The study reveals that for herbal shampoo and conditioner in each formula, there is no package appropriate for selling. Thus, the packages are designed with the structure of clear plastic bottles made from Polyethylene Terephthalate (PET). The top of the bottles are covered with pumping head in the containing size of 250 milliliters. The concept in designing the graphic patterns is the woven cloth with cork flower pattern, local cloth pattern of Phitsanulok. This pattern is newly designed to be used as the background with the cork flower of the cork tree which is the tree of Phitsanulok combined with the illustrations representing the main ingredients of the herbs contained in the shampoo and conditioner. It is designed to be modern and be able to represent the identity of Phitsanulok. The use of colors of the pump head, background, and letters represent the products. The results of assessment on the recognition of the target group are in the high level ( =4.04) (S.D=0.75). The results of assessment on the satisfaction of the target group are in the high level ( =4.07) (S.D=0.74). The next researches are recommended to design the new package structure to be in the shape with the identity of Phitsanulok together with the design of the new pump head for more convenience in using

Article Details

Section
บทความวิจัย