การศึกษาแนวทางการออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำพริกของจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุชาดา คันธารส
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
อภิสักก์ สินธุภัค

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเลขนศิลป์ บนบรรจุภัณฑ์น้ำพริกของจังหวัดขอนแก่นแล้วประเมินผลคุณลักษณะความคิดเห็นความเหมาะสมจากผู้บริโภค ใช้ระเบียบวิธี วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) จากการลงพื้นที่ศึกษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดขอนแก่น นำข้อมูลจาก การศึกษามาวิเคราะห์เป็นองค์ประกอบเลขนศิลป์ด้าน โทนสี ภาพประกอบ ลวดลาย และตัวอักษร ได้แนวทางการออกแบบ เลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ 3 แนวทาง ได้แก่ 1. จากขั้นตอนการศึกษารูปแบบฮูปแต้มฝาผนังสิมเอกลักษณ์จังหวัดขอนแก่น 2. จากขั้นตอนการศึกษารูปแบบลวดลายผ้าไหมเอกลักษณ์อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 3. จากขั้นตอนการผสมผสานความ โดดเด่นของเอกลักษณ์จังหวัดขอนแก่น โดยแนวทางที่ 3 เป็นรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาจากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์จากการรวมกันของแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 โดยพิจารณาจากความโดดเด่นของ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ความสอดคล้องในบริบท และสัดส่วนตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ผลการปฏิบัติการออกแบบได้ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์น้ำพริกจากแนวทางที่ 3 เมื่อนำไปประเมินคุณลักษณะความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย พบว่า บรรจุภัณฑ์ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์มีคุณค่าเหมาะสมกับการเป็นของฝากที่มีชื่อเสียงประจำจังหวัด อยู่ในระดับ เหมาะสมมาก (X=4.17) และผลการประเมินความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ พบว่า บรรจุภัณฑ์ สามารถสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (X=4.40)

 

A STUDY OF GRAPHIC DESIGN ON PRODUCT AS A CULTURAL IDENTITY FOR PACKAGES DEVELOPMENT OF NAM-PRIK KHONKAEN PROVINCE

The objectives of this thesis is to study and practice by guiding a graphic design on Thai paste package that represent Khon Kaen's identity culture and then evaluate a feature of customer's opinion. Using mixed Methodology, study and analyzed documents and field studied were used in this study, Data collected from several cultural identities of Khon Kaen including : Colortone ,Illustrator, Typography, Decorative or ornament to design guidelines for the packages graphic design into 3 idea perspectives development, 1.The design guideline from Hoppatamb Mural painting style, 2.The design guideline from Cholnabot silk style, 3.The design guideline from Characterized being mixed up. As a result the third approach is a model that has been selected and developed as evaluated from target group, represent Khon Kaen's identity culture graphic design and package design structure, which scheme completely appropriated (X=4.17) and evaluation of expert design, as completely appropriated.(X=4.20)

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง