ภาวะผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เนตรทราย วงศ์อุปราช

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานภาพระหว่างบุคคล3) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 4) เปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานภาพระหว่างบุคคล และ5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 92 โรงเรียน จำนวน 240 คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 1 ฉบับ เกี่ยวกับภาวะผู้นำตามแนวคิดของบาส (Bass)และอโวลิโอ (Avolio) กับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาและการจัดการความขัดแย้งของโทมัสและคิลThomas-Kilmann Conflict Mode Instrument มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.997  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test  ANOVA และ Pearson’s product-moment correlation coefficient
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก ส่วนภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย อยู่ในระดับปานกลาง
          2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครจำแนกตามสถานภาพระหว่างบุคคล พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แตกต่างกันตาม อายุ สถานภาพสมรส ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวุฒิการศึกษา ตำแหน่งวิทยฐานะ รายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน แตกต่างกันตาม วุฒิการศึกษา  ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง และ รายได้ต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตำแหน่งวิทยฐานะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย  แตกต่างกันตามสถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง ตำแหน่งวิทยฐานะ รายได้ต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้น เพศ และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน
          3. การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง
          4. เปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานภาพระหว่างบุคคล พบว่า ผู้บริหารมีวิธีการจัดการความขัดแย้งแบบการแข่งขัน แตกต่างกันตาม เพศ  การสมรส  วุฒิการศึกษา  ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง  ตำแหน่งวิทยฐานะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันตาม รายได้ต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดการความขัดแย้งแบบการร่วมมือ  แตกต่างกันตามตำแหน่งวิทยฐานะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแตกต่างกันตามตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การจัดการความขัดแย้งแบบการประนีประนอม แตกต่างกันตาม วุฒิการศึกษา ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง  ตำแหน่งวิทยฐานะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันตาม รายได้ต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดการความขัดแย้งแบบการหลีกเลี่ยง แตกต่างกันตาม  ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง ตำแหน่งวิทยฐานะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การจัดการความขัดแย้งแบบการยอมให้ แตกต่างกันตาม ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานจริง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันตาม การสมรส  ประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น อายุ ไม่แตกต่างกัน
          5. ภาวะผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
Research Article