พฤติกรรมการใช้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ยุวรรณดา ทองทิพย์

Abstract

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ กับพฤติกรรมการใช้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของผู้หญิงซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ใช้วิธีการวิจัย แบบสุ่มกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้หญิงซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน400คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ แสดงค่าร้อยละ ด้วยสถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบ ไค-สแควร์ (Chi – square Test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
          ผลการวิจัย พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มีเหตุผลที่ไปรับการตรวจ คือ การมาตรวจสุขภาพ รองลงมาคือ มีการรณรงค์ตรวจ สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจมารับการตรวจของผู้ใช้บริการมากที่สุด คือ ไม่มี คิดเป็นร้อยละ57.50 รองลงมาคือ คนในครอบครัว ซึ่งผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่มีจำนวนครั้งที่เคยมารับการตรวจมากที่สุดคือ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 49.50 โดยส่วนมากสะดวกมารับการตรวจในช่วงเวลา 17.00-19.00น. และเลือกที่จะไปรับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน โดยจะได้รับข่าวสารโรคมะเร็งปากมดลูกมากจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด การศึกษาข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ35-39ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,000 – 10,000บาท และยังพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกไม่มีผลต่อเรื่องสถานภาพของผู้ที่มาใช้บริการ

Article Details

Section
Research Article