การประเมินประสิทธิภาพแสงธรรมชาติในด้านการอนุรักษ์ภายในอาคารเก่าที่ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร - Evaluation of daylight efficiency on the conservation in the old buildings renovated into a museum:

Evaluation of daylight efficiency on the conservation in the old buildings renovated into a museum: Case study for The National Museum, Bangkok

ผู้แต่ง

  • อลิสโรชา จิรจินดาลาภ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แสงธรรมชาติ, การอนุรักษ์, พิพิธภัณฑ์, Daylight, Conservation, Museum

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
อาคารเก่าที่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ และยังคงรูปแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบของแสงธรรมชาติที่ส่งผลต่อความเสียหายของวัตถุจัดแสดง งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพแสงธรรมชาติที่ส่งผลต่อความเสียหายของวัตถุจัดแสดงประเภทภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงการให้แสงธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์วัตถุจัดแสดงภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยทำการสำรวจและวัดค่าความส่องสว่างภายในห้องจัดแสดง มีปัจจัยในการวัด 2 ปัจจัย คือ วัดความส่องสว่างบนผนังทั้ง 4 ด้าน ด้วยเครื่อง Lux meter เป็นระยะเวลา 1 วัน และวัดความส่องสว่างสะสมที่วัตถุจัดแสดงในตำแหน่งใกล้ช่องเปิดด้านทิศตะวันออก ด้วยเครื่อง hobo data logger วัดแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 วัน โดยวัดในแนวตั้งที่ระดับ 1.30 เมตร ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน CIBSE และทำการจำลองแสงด้วยโปรแกรม Dialux 4.12 เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพแสงธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่าค่าความส่องสว่างบนผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ในบริเวณใกล้ช่องเปิดด้านทิศตะวันออก มีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน CIBSE ในเวลา 9.00-12.00 น. และค่าความส่องสว่างสะสมที่วัตถุจัดแสดงมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน CIBSE จึงเสนอแนะแนวทางในการลดปริมาณแสงธรรมชาติลง โดยการควบคุมการเปิด-ปิดช่องเปิดอาคารด้านทิศตะวันออก ซึ่งทำให้ระดับความส่องสว่างบนผนังทั้ง 4 ด้านอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน CIBSE ดังนั้นการให้แสงธรรมชาติสำหรับการอนุรักษ์วัตถุจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการออกแบบช่องเปิดทางด้านทิศตะวันออก

Abstract
The old building was converted into a museum but, still retain the original architectural style. Take into account the compounding effect of natural light, resulting in the damage of the display. This research aims to evaluate the efficacy of natural light that damage objects on display. Also to study to develop way to improve natural lighting for the conservation of objects exhibited within Royal Phuttaisawan Gray. Survey and measure the illumination in the exhibition room. The two factors; to measure the illumination on all four sides of the wall with a Lux mater for a period of one day and measure the cumulative illumination at the object exhibited near the openings in the east with a hobo data logger. Vertical measurement of 3 days, measured vertically at 1.30 meters, from 9.00 am to 4.00 pm. The data were analyzed against the CIBSE standard and simulated by program Dialux 4.12 to produce guidelines for improving the efficiency of natural light. The results show that the illumination values on the north and south walls in the vicinity of the eastern openings CIBSE is higher than CIBSE standard at 9.00-12.00 and the cumulative illuminance is within the CIBSE standard. Suggested guidance on reducing the amount of natural light by controlling the on - off the east door. This keeps the four levels of illumination on the four walls within CIBSE standard. Conclusion, you should avoid designing open fields to the east to maintain the suitable amount of natural light.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31