การเพิ่มแสงธรรมชาติภายในห้องพักอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บริรักษ์ อินทรกุลไชย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2019.4

คำสำคัญ:

แสงธรรมชาติ, การจำลองแสงธรรมชาติ, การอนุรักษ์พลังงาน, อาคารเขียว

บทคัดย่อ

ยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณแสงธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมภายในห้องโดยอ้างอิงตามข้อแนะนำของสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย (ไม่ตํ่ากว่า 300 ลักซ์) งานวิจัยนี้ใช้การจำลองสภาพของแนวทางการปรับปรุงต่างๆ ด้วยโปรแกรม DIALux เพื่อวิเคราะห์ค่าความส่องสว่างที่เกิดขึ้นผลการวิจัยพบว่าแนวทางการปรับปรุงสภาพห้องส่วนฝ้าเพดานร่วมกับผนังภายในมีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการนำไปใช้งานมากกว่ารูปแบบอื่นๆ โดยหากพิจารณาปริมาณแสงสว่างเป็นหลัก แบบจำลองนี้มีสัดส่วนค่าความส่องสว่างเฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับร้อยละ 123.70 เมื่อเทียบกับค่าก่อนการปรับปรุง ภายใต้สภาพท้องฟ้าโปร่งที่มีแสงตรงจากดวงอาทิตย์ (Clear sky with direct sunlight) และมีสัดส่วนค่าความส่องสว่างเฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับร้อยละ 121.91 เมื่อเทียบกับค่าก่อนการปรับปรุง ภายใต้สภาพท้องฟ้าปิด (Overcast sky) หากพิจารณาคุณภาพแสงสว่างเป็นหลัก (ไม่ควรตํ่ากว่า 0.6) แบบจำลองนี้มีค่าความสมํ่าเสมอของแสงเฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.401 ภายใต้สภาพท้องฟ้าโปร่งที่มีแสงตรงจากดวงอาทิตย์ และมีค่าความสมํ่าเสมอของแสงเฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.332 ภายใต้สภาพท้องฟ้าปิด ถึงแม้ว่าการแก้ไขสภาพห้องภายใต้สภาพท้องฟ้าโปร่งที่มีแสงตรงจากดวงอาทิตย์ สามารถเพิ่มแสงสว่างให้มากกว่า 750 ลักซ์ ได้ครอบคลุมทั่วทั้งห้อง แต่การแก้ไขสภาพห้องภายใต้สภาพท้องฟ้าปิดด้วยการใช้แสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเพิ่มแสงสว่างให้มากกว่า 300 ลักซ์ ได้ครอบคลุมทั่วทั้งห้อง ดังนั้นจึงต้องใช้แสงประดิษฐ์ช่วยเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ

References

Coordinating Center for Energy Conservation Building Design, Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy. (2015). nǣothāng kānʻō̜kbǣp ʻākhān prayat phalangngān. (In Thai) [Energy saving building design guidelines]. Retrieved from http://www.2e-building.com/images/userfiles/files/GuideLine%20BEC57.pdf

DIALux light building software. (2016). DIALux 4 with new improved calculation kernel. Retrieved from http://dialux4.support-en.dial.de/helpdesk/attachments/ 9005537029

Egan, M.D., & Olgyay, V. (2002). Architectural lighting (2nd ed). New York, NY: McGraw-Hill.

Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University. (2016).yutthasāt. (In Thai) [Strategic]. Retrieved from http://arch.msu.ac.th/ยุทธศาสตร์

Illuminating Engineering Association of Thailand. (2003). TIEA - GD sām khō̜ nænam radap khwām sō̜ng sawāng phāinai ʻākhān khō̜ng prathēt Thai. (In Thai) [TIEA-GD003 Recommendation of the level of indoor illumination in Thailand]. Bangkok: The Association.

Muttisa, C. (2005). patčhai kāiyaphāp hing sathō̜n sǣng thı̄ mı̄ phon tō̜ kānnam sǣng thammachāt khao mā chai nai ʻākhān. (In Thai) [The impacts of lightshelf’s physical factors on daylighting in buildings] (Unpublished master’s thesis). Chulalongkorn
University, Bangkok, Thailand.

Oakley, G., Riffat, S.B., & Shao, L. (2000). Daylight performance of lightpipes. Solar Energy, (69), 89-98.

Tawanyim. (2014). thammai ? ? ? ʻākhān samai mai tō̜ng pen Green building. (In Thai) [Why ??? modern buildings must be green building]. Green Network a Magazine for People Who Love the World, (49), 18-19.

UI GreenMetric. (2016). Overall ranking 2016. Retrieved from http://greenmetric. ui.ac.id/overallranking-2016

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-07

How to Cite

อินทรกุลไชย บ. (2019). การเพิ่มแสงธรรมชาติภายในห้องพักอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 18(1), 69–89. https://doi.org/10.14456/bei.2019.4