พิชิตอุปสรรคทางการเงินเพื่อนวัตกรรมด้านพลังงานในงานสถาปัตยกรรม

ผู้แต่ง

  • สิงห์ อินทรชูโต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเงินและการจัดการ, อาคารประหยัดพลังงาน, งบประมาณการก่อสร้าง, สถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การบริหารโครงการ, Innovation management, Energy effi cient architecture, Financial barriers in construction, Construction management

บทคัดย่อ

การนำเทคโนโลยีหรือวิธีการใหม่ๆ ซึ่งรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มีอุปสรรคมากมาย ปัญหาด้านการเงินเป็นต้นเหตุสำคัญที่ยับยั้งการนำ นวัตกรรมด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานมาใช้กับอาคาร บทความนี้ต้องการสรุปประเด็นด้าน อุปสรรคในการบริหารการเงินของโครงการอาคาร จากการสัมภาษณ์เชิงลึกสถาปนิกและวิศวกร ที่ได้สร้างอาคารประหยัดพลังงาน ใน 7 ประเทศ พบว่า สาเหตุหลักที่เป็นอุปสรรคด้านการเงิน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น คือ (1) นวัตกรรมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของอาคาร จึงเพิ่ม ขั้นตอนการทำงานของหลายคณะทำงาน (2) แม้นวัตกรรมนั้นคุ้มค่าแก่การลงทุน แต่ใช้ระยะ เวลาคืนทุนนานเกินไป (3) นวัตกรรมต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าเทคโนโลยีมาตรฐานที่มีใช้โดยทั่วไป (4) โครงการขาดการเตรียมงบประมาณล่วงหน้าเพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรม และ (5) ระบบ การจัดสรรงบประมาณไม่สามารถปรับหมวดค่าใช้จ่ายด้านการออกแบบและการก่อสร้างได้ โดย แนวทางการแก้ไขอุปสรรคทางการเงิน คือ การปรับค่านิยมของคณะทำงานให้ตรงกัน การจัดสรร ค่าบริการเฉพาะทาง การจัดหาเงินทุนสนับสนุนจากนอกโครงการ การร่วมวิจัย และการลดองค์ ประกอบอาคารเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ความสำเร็จจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการทำงาน เป็นทีม

 

Managing Financial Diffi culties in integrating Energy Effi ciency in Architecture

Singh Intrachooto

Introducing environmentally responsible innovation in architecture is a great challenge, infested with numerous barriers. Financial barriers are the key obstacles among building professionals who pursue energy effi cient architecture. This paper summarizes fi nancial barriers found in various construction projects. In-depth interviews with innovators in 7 countries highlighted 5 fi nancial conditions which prevent successful integration of energy effi cient innovation in buildings: (1) the introduction of innovation affects numerous building components, which require negotiations with multiple team members. (2) The Return on investment takes much too long. (3) Investment cost of innovation is higher than conventional technologies. (4) Budget allocations do not include innovation development activities and (5) Bill-of-Quantity (BOQ) is infl exible to re-allocate budget to support innovation development.

Downloads