การสร้างชุมชนเดินและจักรยานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและวิธีคิดอย่างนักออกแบบ (Building up a Walking and Cycling Community with Participatory and Design Thinking Process)

Main Article Content

เมธี พิริยการนนท์
พลเดช เชาวรัตน์
ศุภธิดา สว่างแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ
     การเดินและการใช้จักรยานเป็นรูปแบบการเดินทางที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมทางสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการเดินทางรูปแบบดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศที่เน้นในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์พลังงาน และการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมใช้จักรยานในครอบครัวและชุมชนให้หันมาเดินทางรูปแบบดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่ง ในการขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนเดินและจักรยาน โดยวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุมชนเดินและจักรยานต้นแบบโดยใช้พื้นที่ ชุมชนสุขสบายใจ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากมีการส่งเสริมจากทางภาคหน่วยงานท้องถิ่นในการพัฒนาด้านกายภาพโดยมี เส้นทางจักรยาน จำนวนผู้ใช้จักรยานที่สูง ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม และสอดคล้องกับนโยบายของผู้นำชุมชน ประกอบกับลักษณะที่ตั้งที่ประกอบด้วยโรงเรียนประถมและมัธยมขนาดใหญ่ และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างถนนสายประธานจึงทำให้ชุมชนมีปริมาณการสัญจรรถยนต์ที่สูง มีจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมในการเป็นพื้นที่ศึกษาสำหรับการสร้างชุมชนเดินและจักรยาน ในการสร้างชุมชนเดินและจักรยานมีกระบวนการที่พัฒนาภายในกรอบ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ที่เน้นการทำวิจัยที่มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในกระบวนการทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการค้นหาปัญหา ศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การหาปัจจัยความสำเร็จ และการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์สามารถแก้ปัญหาได้ และการสร้างทัศนคติที่ดีในการส่งเสริมใช้จักรยานในครอบครัวและชุมชนต่อไป


คำสำคัญ: จักรยาน การมีส่วนร่วม ชุมชน วิธีคิดอย่างนักออกแบบ คนเดินเท้า


Abstract
     According to the studies, walking and cycling are crucial modes of transport supporting health, social and economy, and environment. Moreover, they are consistent with the national development orientations like sustainable development, energy conservation, and aging society. In order to promote walking and cycling, a community prototype which exhibits a good practice is necessary. Therefore, this research aims to build up a walking and cycling community prototype. Suksabaijai community located in Kalasin city is selected to be a prototype because of its 1) suitable physical condition, 2) high number of bicycle users, 3) active civil society, 4) supportive local leaders, and 5) urgently needed to solve a problem according to a new development causing traffic unsafety. The process of building up the walking and cycling community prototype follows the concept of Participatory Action Research. It emphasizes on involving all stakeholders into the process, from the process of defining problems and potentials, until guideline development, successful factor investigation, creating an innovative solutions, and making positive attitude towards walking and cycling in a family and community level.


Keywords: Bicycle, Participations, Community, Design Thinking, Pedestrian

Article Details

How to Cite
พิริยการนนท์ เ., เชาวรัตน์ พ., & สว่างแจ้ง ศ. (2018). การสร้างชุมชนเดินและจักรยานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและวิธีคิดอย่างนักออกแบบ (Building up a Walking and Cycling Community with Participatory and Design Thinking Process). Asian Creative Architecture, Art and Design, 25(2), 69–80. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/108779
Section
Research Articles