อัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศเพื่อการออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Identity of 5 Meklong Sub-Region Countries for Jewelry Design)

Main Article Content

ศมลพรรณ ภู่เล็ก
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
สุรินทร์ อินทะยศ

Abstract

บทคัดย่อ
     การวิจัยอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ เพื่อการออกแบบเครื่องประดับมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ลักษณะความเป็นอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา - พม่า - สปป.ลาว - เวียดนาม - ไทย เพื่อต่อยอดพัฒนาสู่รูปแบบร่วมสมัย 2) สร้างสรรค์เครื่องประดับจากแนวความคิดอัตลักษณ์กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ ผลการวิจัยพบว่า ประเภทและลวดลายเครื่องประดับที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีฐานนิยมมีดังต่อไปนี้ 1) อัตลักษณ์ประเทศกัมพูชา ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ กำไลข้อมือ ต่างหู และสร้อยคอ โดยจัดลำดับลวดลายเครื่องประดับกลุ่มอันดับที่ 1 ลายดอกไม้ และกลุ่มอันดับที่ 2 ลายบิดเกลียว 2) อัตลักษณ์ประเทศพม่า ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกำไลข้อมือ โดยจัดลำดับลวดลายเครื่องประดับ กลุ่มอันดับที่ 1 ลายก้นหอย และกลุ่มอันดับที่ 2 ลายดอกไม้ 3) อัตลักษณ์ประเทศ สปป.ลาว ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ กำไลข้อมือ สร้อยคอ และต่างหูโดยจัดลำดับลวดลายเครื่องประดับ กลุ่มอันดับที่ 1 ลายดอกไม้ และกลุ่มอันดับที่ 2 ลายบิดเกลียว 4) อัตลักษณ์ประเทศเวียดนาม ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กำไลข้อมือ และสร้อยคอ โดยจัดลำดับลวดลายเครื่องประดับกลุ่มอันดับที่ 1 ลายสัตว์ในตำนาน และกลุ่มอันดับที่ 2 ลายดอกไม้ 5) อัตลักษณ์ประเทศไทย ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู ก??ำไลข้อมือ และสร้อยคอ โดยจัดลำดับลวดลายเครื่องประดับ กลุ่มอันดับที่ 1 ลายดอกไม้ และกลุ่มอันดับที่ 2 ลายก้นหอย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย เป็นผลงานสร้างสรรค์เครื่องประดับ 5 ชุด ได้แก่ อัตลักษณ์ประเทศกัมพูชา อัตลักษณ์ประเทศพม่า อัตลักษณ์ประเทศ สปป.ลาว อัตลักษณ์ประเทศเวียดนาม อัตลักษณ์ประเทศไทย


คำสำคัญ: อัตลักษณ์เครื่องประดับ กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ


Abstract
     This research aims to: 1) analyze and synthesize the jewelry identities of the five Mekong sub-region countries: Cambodia, Myanmar, Laos, Vietnam and Thailand; and 2) create Mekong-sub-region-themed jewelry.There are five research findings.Firstly, the first three identities of Cambodian jewelry are bracelets, earrings and necklaces respectively.The most common motif is the floral motif, while the second most common one is the coil motif. Secondly, the first three identities of Myanma jewelry are necklaces, earrings and bracelets respectively. The most common motif is the spiral motif, while the second most common one is the floral motif. Thirdly, the first three identities of Laotian jewelry are bracelets, necklaces and earrings respectively. The most common motif is the floral motif, while the second most common one is the coil motif. Fourthly, the first three identities of Vietnamese jewelry are earrings, bracelets and necklaces respectively. The most common motif is the mythical creature motif, while the second most common one is the floral motif. Finally, the first three identities of Thai jewelry are earrings, bracelets and necklaces respectively. The most common motif is the floral motif, while the second most common one is the spiral motif. The research findings related the production of five sets of jewelry, each representing the jewelry identities of one of the five Mekong sub-region countries.


Keywords: Jewelry Identity, Mekong Sub-Region Countries, Jewelry Design

Article Details

How to Cite
ภู่เล็ก ศ., เขียวมั่ง เ., & อินทะยศ ส. (2018). อัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศเพื่อการออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Identity of 5 Meklong Sub-Region Countries for Jewelry Design). Asian Creative Architecture, Art and Design, 25(2), 176–189. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/109012
Section
Research Articles